วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอเพื่อการเรียนการสอน บทที่ 2

บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
          แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ผู้วิจัยมุ่งศึกษาเพื่อดำเนินงานโครงการการศึกษาการใช้โปรแกรมการตัดต่อวิดีโอ เพื่อการเรียนการสอนของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งศึกษาค้นคว้าด้วยเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องตามหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
          2.1 การข้อมูลเกี่ยวกับวิดีโอ
                   2.1.1 ความหมายของวีดีโอ
                   2.1.2 คุณค่าของสื่อนำเสนอวีดีโอ
                   2.1.3 ความสำคัญและกระบานการตัดต่อของโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ
                             2.1.3.1 ความสำคัญของโปรแกรม Avidemux
                             2.1.3.2 ความสำคัญของโปรแกรม Lightworks
                             2.1.3.3 ความสำคัญของโปรแกรม Final Cut Pro X (For Mac)
                             2.1.3.4 ความสำคัญของโปรแกรม Power Director
                             2.1.3.5 ความสำคัญของโปรแกรม Freemake Video Converter
                             2.1.3.6 ความสำคัญของโปรแกรม VirtualDub
                             2.1.3.7 ความสำคัญของโปรแกรม Sony Vegas Pro 13
                             2.1.3.8 ความสำคัญของโปรแกรม Corel VideoStudio Pro X7
                             2.1.3.9 ความสำคัญของโปรแกรม VSDC Free Video Editor
                             2.1.3.10 ความสำคัญของโปรแกรม Free Video Dub
                             2.1.3.11 ความสำคัญของโปรแกรม Adobe Premiere Pro
                             2.1.3.12 ความสำคัญของโปรแกรม Kate's Video Toolkit Free
                             2.1.3.13 ความสำคัญของโปรแกรม Movie Maker
          2.2 หลักการและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
                   2.2.1 ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
                   2.2.2 การจัดการเรียนรู้การสอน  และขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จ
                   2.2.3 ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
                   2.2.4 หลักการจัดแผนการเรียนการสอนที่ได้ผล
          2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้
                             2.3.1. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism)
                             2.3.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
                             2.3.3. ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่ด้วยผู้เรียน
                             2.3.4 ทฤษฎีการสื่อสาร
                             2.3.5 ทฤษฎีและแบบจำลองการสื่อสาร
                                      2.3.5.1 ทฤษฎีเชิงระบบพฤติกรรม
                                      2.3.5.2   ทฤษฎีพฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส
                                      2.3.5.3. ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์
                                      2.3.5.4. ทฤษฎีเชิงบริบททางสังคม
2.1 การข้อมูลเกี่ยวกับวิดีโอ
          2.1.1 ความหมายของวีดีโอ
                   คำเต็มภาษาอังกฤษ  Video  คำเต็มภาษาไทย  วีดิทัศน์  ในความหมายกว้าง ๆ คำนี้หมายถึง ภาพหรืออะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงภาพ ในทางคอมพิวเตอร์ จึงหมายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยทำให้มีการแสดงภาพบนจอได้ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมเกี่ยวกับภาพ จานบันทึกที่ใช้เก็บภาพ หน่วยประมวลผลที่สามารถประมวลผลภาพได้ เรามักใช้คำนี้นำหน้าคำอื่น เช่น video disk, video conference เป็นต้น
                   คณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิทยาศาสตร์ ได้พิจารณาเห็นว่า video เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกับ television ซึ่งมีคำไทยใช้ว่าโทรทัศน์ แล้ว สมควรคิดหาคำไทยใช้กับ video ด้วยโดยคำที่จะคิดขึ้นนี้ควรจะมีคำว่า "ทัศน์" ประกอบอยู่ด้วย เพื่อให้เข้าชุดกัน และควรหาคำที่จะมีเสียงใกล้เคียงกับคำทับศัพท์ที่นิยมใช้กันอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้มีการยอมรับศัพท์ที่คิดขึ้นได้ง่าย
                   คำ video เป็นคำคุณศัพท์ที่มีความหมายว่า "มองเห็นได้, เห็นเป็นรูปภาพได้, เกี่ยวข้องกับรูปภาพ" พจนานุกรมต่างประเทศหลายเล่มเก็บความหมายไว้เท่ากับ television ด้วย
                   ศาสตราจารย์คุณบรรจบ พันธุเมธา กรรมการท่านหนึ่ง ได้เสนอคำ วีติ ซึ่งเป็นคำสันสกฤตที่อาจจะแปลงอักขระเป็น วีดิ ในภาษาไทยได้และมีเสียงใกล้เคียงกับ video ด้วย คำ วีติ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า enjoyment, pleasure เมื่อนำคำ "ทัศน์" มาลงท้ายในลักษณะเดียวกับคำโทรทัศน์ จะลงรูปเป็น วิดีทัศน์ ซึ่งหากจะแปลความหมายอย่างง่าย ๆ ก็อาจแปลได้ว่า เครื่องที่แสดงภาพเพื่อความเพลิดเพลิน แต่ถ้าแปลตรงตามตัวก็แปลว่า "เกี่ยวกับภาพเพื่อความเพลิดเพลิน"
          2.1.2 คุณค่าของสื่อนำเสนอวีดีโอ
                วีดีโอสามารถนำไปใช้งานได้ในหลาย ๆ ลักษณะซึ่งสามารถแสดงดังต่อไปนี้
                   - ด้านบันเทิง (Video Entertainment) สามารถบันทึกมิวสิกวีดีโอ รายการโทรทัศน์ที่ชื่นชอบ บันทึกการแสดงสด หรือในงานเลี้ยงสังสรรต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาชมได้อีกครั้ง
                   - ด้านการนำเสนองาน (Video Presentation) สำหรับแนะนำสินค้า กิจกรรมด้านต่าง ๆ
                   - ด้านงานสะสมวีดีโอ (Video Album) สามารถผลิต Video ที่ใช้เพื่อบันทึกภาพแห่งความทรงจำ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำร่วมกันขณะที่เราศึกษาอยู่
                    - ด้านการศึกษา (Education Program) ผลิตสื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ในรูปแบบของวีดีโอเทป ซีดีรอม หรือภาพนิ่ง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งในชั้นเรียน และทางออนไลน์
          ในปัจจุบันงานวิดีโอได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ด้วยความสามารถของงานทางด้านมัลติมีเดียที่ทำให้การนำเสนองานของเราน่าสนใจแล้วราคากล้องวิดีโอก็ราคาถูกลงมามากและหาซื้อได้ไม่ยาก พร้อมกับโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอก็มีให้เลือกใช้มากมายและก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะเรียนรู้ สำหรับสื่อนี้จะขอนำเสนอการตัดต่อด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio เพื่อเป็นพื้นฐานในการตัดต่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้
                    1.  แนะนำองค์กรและหน่วยงาน การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงานและองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
                   2.  บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ งานวันเกิดงานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
                   3.  การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอโดยตรง เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT   เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage และอื่นๆ
                   4.  การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
                   5.  วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง วิทยากรที่เชิญมาบรรยาย ผู้จะเกษียณอายุจากการทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ
          ที่กล่าวมานี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองเห็นความสำคัญของงานวิดีโอมากขึ้น และได้รู้ว่าการทำวิดีโอไม่ได้ลงทุนมากและยุ่งยากอย่างที่คิดจากประสบการณ์ ในการทำงานวิดีโอ สรุปได้ว่าวิดีโอที่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนที่ใช้ แต่ขึ้นอยู่กับความประณีต และความคิดสร้างสรรค์
2.2 หลักการและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
           ความหมายของสื่อ
                   สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ช่วยใน การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะต่างๆไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม จุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด
         

          ความหมายการเรียนการสอน
                   การเรียนและการสอน  เป็นคำที่มักใช้คู่กันเรียกรวมกันว่า  การเรียนการสอนทั้งนี้เพราะคำทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน  ทั้งการสอนและการเรียนต่างเป็นกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกันการสอนเป็นการตั้งใจกระทำให้เกิดการเรียนรู้  และการสอนที่ดีย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ผู้สอนที่สอนอย่างมีหลักการ มีความรู้และมีทักษะ  จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความหมาย  มีคุณค่า  เป็นการประหยัดเวลาและป้องกันการสูญเปล่า  ดังนั้น  ผู้สอนจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอน  ทั้งในด้านความหมาย ลักษณะ องค์ประกอบ หลักการสอน หลักการเรียนรู้ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างหลักการสอนกับหลักการเรียนรู้ เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติ ทำให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
          สื่อการเรียนการสอน
                   สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
          2.2.1 ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
           สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
               1. สื่อประเภทวัสดุ   ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
               2. สื่อประเภทอุปกรณ์   ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
               3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ   ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
               4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์   ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
           สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามประสบการณ์ ซึ่งจะเป็น กรวยประสบการณ์  (Cone of Experience) ของเอดการ์ เดล ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท ดังนี้
          

           2.2.2 การจัดการเรียนรู้การสอน  และขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จ

คำอธิบาย: คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh95ygeqbBDomk5ekKpC0mWPhkbGtZwDZcsgh3PbRB_n6uq3Y4fWuWKNv0rGQWhdFbsz5i7bIlcCuWqMbeDl6aXXhksG-B6CNa3zdHmtGv3QM3x4yUZpCopq8_H_Az6yTDmcH0V0hVV95w/s1600/image001.jpg
 









           ขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท ดังนี้
                   1.  ประสบการณ์ตรง  เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  ซึ่งเกิดจากการได้ปฏิบัติกิจกรรมและได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง
                   2.  ประสบการณ์รอง  เป็นประสบการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด เนื่องจากประสบการณ์ตรงบางอย่างนั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง อาจเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้  อาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน  มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป    ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้ จึงจำเป็นต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มี  ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงมากที่สุด  เพื่อความสะดวก ปลอดภัยและง่ายต่อความเข้าใจ  เช่น  สถานการณ์จำลอง  หุ่นจำลอง   เป็นต้น
                   3.  ประสบการณ์นาฏการ เป็นการจำลองสถานการณ์อย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความเหมือนหรือใกล้เคียงกับประสบการณ์จริง  เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนด้วยเหตุที่มี ข้อจำกัดต่างๆ ได้แก่   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต  สถานที่ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม  ซึ่งไม่สามารถจัดเป็นประสบการณ์รองได้   เช่น  การแสดงละคร  บทบาทสมมุติ  เป็นต้น
                   4.  การสาธิต  เป็นการกระทำหรือแสดงให้ดูเป็นแบบอย่างประกอบการอธิบายหรือบรรยาย
                   5.  การศึกษานอกสถานที่  เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนในสภาพความเป็นจริง 
                   6.  นิทรรศการ  เป็นการนำประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้หลาย ๆ ด้าน มาจัดแสดงผสมผสานร่วมกัน
                   7.  โทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ   แต่โทรทัศน์  มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนตร์  เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น  ในขณะนั้นมาให้ชมได้ในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า การถ่ายทอดสดในขณะที่ภาพยนตร์เป็น การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึงจะนำมาฉายให้ชมได้
                   8.  การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง เป็นประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาหรือทางหู  เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
                   9.  ทัศนสัญลักษณ์  เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา  
                   10. วจนสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา
           จากกรวยประสบการณ์การเรียนรู้ของเอดการ์ เดล ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท ซึ่งแต่ละขั้นก็มีวิธีการที่เรียนรู้ต่างกันไปทำแต่ละขั้นนั้นได้รับประสบกาณ์ที่แตกต่างกันไปแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าประสบการณ์ที่ได้จะต่างกันในแต่ละขั้นแต่โดยสรุปแล้วก็ถือว่าเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีและมีประโยชน์มาก ดังที่กล่าวว่า  ประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับเกิดจากการเรียนรู้ของตัวบุคคลเอง
          
           2.2.3 ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
                   1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง
                   2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
                   3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
                   4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
                   5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
           สรุป  แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนำสื่อไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทำให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทำให้การสอนนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมีทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
                    โปรแกรมตัดต่อวีดีโอเพื่อการเรียนการสอน
                             การเรียนรู้ถือว่ามีความสำคัญมากโดยอย่างยิ่งแล้วเน้นการพัฒนาถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเต็มศักยภาพเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับการเรียนรู้ผ่านสื่อสังคมซึ่งกระบวนการการเรียนรู้ก็มีหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่บุคคลก็อย่างที่ทราบๆ กันว่าปัจจุบันนี้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกันอย่างกว้างขวาง มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตั้งมากมายเพื่อที่ให้เราได้ศึกษาได้เรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางด้านสารมวลชน สื่อทางด้านโทรคมนาคม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  สื่อคอมพิวเตอร์  อินเตอร์เน็ต รวมไปถึง สื่อสังคม เป็นต้น   ซึ่งสื่อเหล่านี้ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อการศึกษาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสื่อทางด้านสื่อสังคม ที่ปัจจุบันนี้มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมากซึ่งวิธีการศึกษาการเรียนรู้เทคโนโลยีจาก  สื่อสังคมนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้แลประสบการณ์ของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันบางคนเรียนรู้ด้วยวิธีการที่ผิดๆ จึงทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดๆและส่งผลไปสู่การกระทำที่ผิดๆ และอีกอย่างการศึกษาในปัจจุบันก็ค่อนข้างที่จะเปิดอิสระให้ผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาด้วยตนเอง ในทางการศึกษาประโยชน์หลักๆ ของสื่อสังคมก็คือ การเรียนรู้การศึกษาผ่านสื่อคมให้ได้มาซึ่งความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้เรียนรู้และศึกษาจากสื่อสังคมนำไปสู่การปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น  มีการนนำ facebook  เข้ามาใช้ คือ ช่วยแชร์ความรู้บางครั้งอาจารย์ก็ใช้โพสพอกเกี่ยวกับงานการบ้าน หรือแม้กระทั่งเอกสารประกอบการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นและก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปนั่งเรียนที่ห้องเรียนแต่หันมาใช้วิธีเรียนแบบผ่านสื่อสังคมแทนหรือการสร้างบล็อกเพื่อเผยแพร่ความรู้หรือเพื่อการศึกษาหาความรู้ได้ซึ่งผู้เรียนละผู้สอนก็ใช้กันมากเลยในสังคม ณ ปัจจุบันนี้
          2.2.4  หลักการจัดแผนการเรียนการสอนที่ได้ผล
                             แนวคิดจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ซึ่งกล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ ที่ยอมรับว่าบุคคลหรือผู้เรียนมีความแตกต่างกัน และทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูหรือผู้จัดการเรียนรู้ควรมีความเชื่อพื้นฐานอย่างน้อย 3 ประการ คือ
                                      1. เชื่อว่าทุกคนมีความแตกต่างกัน
                             2. เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
                                      3. เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา
          ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงเป็นการจัดการบรรยากาศ จัดกิจกรรม จัดสื่อ จัดสถานการณ์ ฯลฯ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ ครูจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักผู้เรียนครอบคลุมอย่างรอบด้าน และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปเป็นพื้นฐานการออกแบบหรือวางแผนการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับผู้เรียน สำหรับในการจัดกิจกรรมหรือออกแบบการเรียนรู้ อาจทำได้หลายวิธีการและหลายเทคนิค แต่มีข้อควรคำนึงว่า ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง แต่ละเรื่อง ได้เปิดโอกาสให้กับผู้เรียนในเรื่องต่อไปนี้หรือไม่
                   1. เปิดโอกาสให้นักเรียนเป็นผู้เลือกหรือตัดสินใจในเนื้อหาสาระที่สนใจ เป็นประโยชน์ต่อตัว ผู้เรียนหรือไม่
                   2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยได้คิด ได้รวบรวมความรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองหรือไม่ ซึ่ง ทิศนา แขมมณี (2543) ได้นำเสนอแนวคิดในการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมและสามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ ดังนี้
                             2.1 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีที่ควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย (physicalparticipation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการเรียนรู้ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ ถ้าผู้เรียนอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อม แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดีๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ดังจะเห็นได้ว่า ถ้าปล่อยให้ผู้เรียนนั่งนานๆ ในไม่ช้าผู้เรียนก็จะหลับหรือคิดเรื่องอื่นๆ แต่ถ้าให้มีการเคลื่อนไหวทางกายบ้างก็จะทำให้ประสาทการเรียนรู้ของผู้เรียนตื่นตัวและพร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน
                             2.2 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางสติปัญญา (intellectualparticipation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเคลื่อนไหวทางสติปัญญา ต้องเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน สามารถกระตุ้นสมองของผู้เรียนให้เกิดการเคลื่อนไหว ต้องเป็นเรื่องที่ไม่ยากหรือง่ายเกินไปทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกที่จะคิด
                             2.3 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (social participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากมนุษย์จำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ มนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสภาพแวดล้อมต่างๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านสังคม
                             2.4 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางอารมณ์ (emotional participation)คือ เป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดความหมายต่อตนเองโดยกิจกรรมดังกล่าวควรเกี่ยวข้องกับผู้เรียนโดยตรง โดยปกติการมีส่วนร่วมทางอารมณ์นี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับการกระทำอื่นๆอยู่แล้ว เช่น กิจกรรมทางกาย สติปัญญา และสังคม ทุกครั้งที่ครูให้ผู้เรียนเคลื่อนที่ เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนกิจกรรม ผู้เรียนจะเกิดอารมณ์ ความรู้สึกตามมาด้วยเสมอ อาจเป็นความพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉย ๆ
จากแนวคิดที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นที่มาของการนำเสนอชื่อ “CIPPA” ซึ่งระบุองค์ประกอบสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ 
                   C มาจากคำว่า Construct หมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้(Constructivism) โดยครูสร้างกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
                   I มาจากคำว่า Interaction หมายถึง การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม
                   P มาจากคำว่า Physical Participation หมายถึง การให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกายโดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางกาย
                   P มาจากคำว่า Process Learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการพัฒนาตนเอง เป็นต้น การเรียนรู้กระบวนการเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกับการเรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ และการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านสติปัญญาอีกด้วย
                   A มาจากคำว่า Application หมายถึง การนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งจะช่วยให้
ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์
                   การระบุองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยผู้เรียนได้แสดงบทบาทต่างๆ อันเป็นการแสดงความสำคัญของผู้เรียน เป็นตัวอักษรย่อ “CIPPA” นี้เพื่อให้ง่ายที่จะจำและนำไปใช้เป็นหลักในการปฏิบัติได้โดยสะดวก
          การจัดการเรียนการสอนทั่วไป ครูสามารถออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามแนวทาง ต่อไปนี้
          1.   การจัดกิจกรรมเอื้ออำนวยให้เกิดการสร้างความรู้ (Construct) จากความคิดพื้นฐานที่เชื่อว่า ในสมองของผู้เรียนมิได้มีแต่ความว่างเปล่า แต่ทุกคนมีประสบการณ์เดิมของตนเอง เมื่อได้รับประสบการณ์ใหม่ สมองจะพยายามปรับข้อมูลเดิมที่มีอยู่โดยการต่อเติมเข้าไปในกรณีที่ข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่ไม่มีความขัดแย้งกัน แต่ถ้าขัดแย้งกันก็จะปรับโครงสร้างของข้อมูลเดิม เพื่อให้สามารถรับข้อมูลใหม่ได้ ซึ่งอาจทำให้โครงสร้างของข้อมูลเดิมเปลี่ยนแปลงไป และถ้าผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความรู้ที่สร้างได้นั้นออกมาด้วยคำพูดของตนเอง การสร้างความรู้นั้นก็จะสมบูรณ์ ดังนั้น ถ้าครูสามารถออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำตามแนวความคิดนี้ ผู้เรียนก็จะสามารถสร้างความรู้ได้ พฤติกรรมที่ครูควรออกแบบในกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน มีดังนี้
                   1.1  ให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้เดิม
                   1.2  ให้ผู้เรียนได้รับ /แสวงหา/รวบรวมข้อมูล/ประสบการณ์ต่างๆ
                   1.3 ให้ผู้เรียนได้ศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจ และสร้างความหมายข้อมูล/ประสบการณ์ต่างๆโดยใช้กระบวนการคิดและกระบวนการอื่นๆที่จำเป็น
                   1.4  ให้ผู้เรียนได้สรุปจัดระเบียบ/โครงสร้างความรู้
                   1.5  ให้ผู้เรียนได้แสดงออกในสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ  ในกิจกรรมการเรียนการสอนทั่วไป ครูสามารถออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องตามลำดับขั้นตอนต่างๆในขณะที่ให้ความรู้ โดยเปลี่ยนบทบาทจากที่เคยบอกความรู้โดยตรง ให้ผู้เรียนบันทึกหรือคัดลอกเป็นการใช้คำสั่งและคำถามดำเนินกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำเพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยครูเตรียมสื่อการสอนที่เป็นตัวอย่างเครื่องมือหรือการปฏิบัติงานในลักษณะต่างๆ เป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เข้าใจ ครูอาจชี้แนะข้อมูลที่ควรสังเกตและวิธีการจัดระบบระเบียบโครงสร้างความรู้ให้ เช่น สอนให้เขียนโครงสร้างความรู้เป็นแผนผังที่ตนเองเข้าใจ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เรื่องใด เช่น ให้อธิบายแผนผังความคิดที่ตนเองเขียนขึ้นตามความเข้าใจ หรือให้เล่าถึงสิ่งที่เรียนรู้โดยครูใช้คำถามหรือคำสั่งเป็นสื่อ และมีการเสริมแรงอย่างเหมาะสมในภายหลังก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ เกิดความสนุก และต้องการเรียนรู้อีก
          2.   การจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) คือ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้กระทำสิ่งต่างๆ หรือการกระทำบางสิ่งบางอย่าง ดังต่อไปนี้
                   2.1 ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ได้แก่ การพูดอภิปรายกับเพื่อน กับครู หรือผู้เกี่ยวข้องกับการทำงาน ผู้ที่สามารถให้ข้อมูลบางอย่างที่ผู้เรียนต้องการได้
                   2.2 ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น กำหนดให้ผู้เรียนสำรวจอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณโรงเรียน
                   2.3  ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น กำหนดให้ผู้เรียนสังเกต
การกินอาหารของสัตว์หรือรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของต้นไม้ชนิดต่างๆ
                   2.4 ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางด้านสื่อโสตทัศน์ วัสดุ และเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ให้ผู้เรียนไปหาข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ หรือให้อ่านใบความรู้ ใบงาน หรือใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ในการเรียน
          3.   การจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย (Physical Participation) คือ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวอวัยวะหรือกล้ามเนื้อต่างๆ เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ และความสนใจของผู้เรียน โดยกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวอาจเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
                   3.1 กล้ามเนื้อมัดย่อย เช่น การพิมพ์ดีด ร้อยมาลัย พับกระดาษ วาดรูป เย็บผ้า ใช้ไขควง เขียนแบบ เรียงตัวหนังสือ ปฏิบัติการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์
                   3.2 กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น กิจกรรมย้ายกลุ่ม ย้ายเก้าอี้ จัดโต๊ะ ทุบโลหะ ตอกตะปู ยกของ ก่ออิฐ ฉาบปูน ขุดดิน ฯลฯ
          4.   การจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการ คือ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการศึกษาด้วยตนเอง การะบวนการจัดการ กระบวนการแก้ปัญหาและตัดสินใจ กระบวนการทำงาน กระบวนการอื่นๆ โดยครูจัดกิจกรรม สถานการณ์ หรือกำหนดให้ผู้เรียนหาข้อมูลหรือความรู้โดยใช้กระบวนการดังกล่าวเป็นเครื่องมือ
                        ผลของการเรียนรู้ นอกจากผู้เรียนจะได้รับรู้ข้อมูลที่ต้องการแล้วยังมีความรู้เกี่ยวกับการใช้กระบวนการเหล่านี้ เพื่อหาข้อมูลหรือความรู้อื่นๆ ได้ด้วยตนเองในโอกาสอื่นๆ  เปรียบเหมือนการให้เครื่องมือในการจับปลากับชาวประมงแทนที่จะเอาปลามาให้ เมื่อชาวประมงมีเครื่องมือจับปลาแล้วย่อมหาปลามากินเองได้ หรือวางแผนจัดสรรเวลาของการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือได้ลงมือแก้ไขงานบางอย่างในขณะลงมือปฏิบัติงาน ซึ่งต้องใช้การพิจารณาข้อมูลรอบด้านเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ข้อสำคัญคือ ครูจะต้องช่วยให้ผู้เรียนได้สรุปขั้นตอนในการทำงาน ผู้เรียนต้องบอกได้ว่า การทำงานนี้เสร็จได้ เขาใช้ขั้นตอนและวิธีการใดบ้าง แต่ละขั้นตอนมีปัญหาและอุปสรรคใด เขาใช้วิธีการใดแก้ปัญหา และได้ผลของการปฏิบัติออกมาอย่างไร พอใจหรือไม่ ถ้ามีการทำงานอย่างนี้อีกในครั้งต่อไปเขาจะปฏิบัติอย่างไร
                    อีกประเด็นหนึ่งคือ การใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน ต้องแบ่งหน้าที่การทำงาน สมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมทำให้งานชิ้นนั้นสำเร็จ มิใช่ให้ผู้เรียนมานั่งรวมกลุ่มกันแต่ทำงานแบบต่างคนต่างทำ เพราะผู้เรียนจะได้มีโอกาสรู้บทบาทของตนเองในการทำงานร่วมกับคนอื่น ตลอดจนรู้วิธีการจัดระบบระเบียบการทำงานในกลุ่มเพื่อให้งานกลุ่มบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป ก็จะสามารถใช้กระบวนการกลุ่มนี้ในการทำงานกับคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมที่ผู้เรียนเป็นสมาชิกอยู่ได้
          5.   การจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการประยุกต์ใช้ความรู้ (Application) คือ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้กระทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
                   5.1  ได้นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆที่หลากหลาย หรือ
                   5.2  ได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนรู้จนเกิดความชำนาญ
โดยครูจัดสถานการณ์ แบบฝึกหัด หรือโจทย์ปัญหาให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและความชำนาญในการที่จะนำเอาความรู้นั้นมาใช้เป็นประจำในชีวิตจริง การจัดกิจกรรมในขั้นตอนนี้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญแต่กลับเป็นจุดอ่อนของการจัดการเรียนการสอนของไทยทุกระดับ เพราะมีการปฏิบัติหรือมีพฤติกรรมการนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากในการเรียนการสอนผู้เรียนยังขาดการฝึกฝนการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวคิดที่กล่าวถึงข้างต้น สามารถใช้ได้กับการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาและทุกระดับชั้น เพียงแต่ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาที่ต่างกันจะมีลักษณะที่เอื้ออำนวยให้ครูออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในจุดเด่นที่ต่างกัน คือ
                   1. รายวิชาที่มีเนื้อหามุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้กฎเกณฑ์และการนำเอากฎเกณฑ์ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ หรือการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ครูสามารถใช้กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีสอนแบบอุปนัย และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำกฎเกณฑ์ที่ทำความเข้าใจได้ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสอนแบบนิรนัย การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืน เพราะผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตัวเอง
                   2. รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้จากการค้นคว้าทดลอง และการอภิปรายโดยใช้หลักเหตุผล เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้สร้างความรู้เองโดยตรง เพียงแต่ครูต้องรู้จักการใช้คำถามที่ยั่วยุและเชื่อมโยงความคิด ประกอบกับการได้มีโอกาสทำการทดลอง เป็นการปฏิบัติร่วมกัน ผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อสร้างความรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำกันมาอยู่แล้ว
                   3. รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลที่หลากหลายเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ข้อมูลที่มีลักษณะยั่วยุให้ออกความคิดเห็นได้ เช่น วิชาสังคมศึกษา และวรรณคดีเป็นลักษณะพิเศษที่ครูจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดกิจกรรมการใช้ความคิด อภิปราย นำไปสู่ข้อสรุป เป็นผลของการเรียนรู้และการสร้างนิสัยยอมรับฟังความคิดเห็นกัน เป็นวิถีทางที่ดีในการปลูกฝังประชาธิปไตยให้กับผู้เรียน
                   4. รายวิชาที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นหลัก เช่น วิชาพลศึกษาและการงานอาชีพ ครูควรใช้โอกาสดังกล่าว ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทำงาน
                   5. รายวิชาที่ส่งเสริมความคิดจินตนาการ และการสร้างสุนทรียภาพ เช่น วิชาศิลปะและดนตรี นอกจากจะมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ผู้เรียนยังมีโอกาสได้สร้างความรู้ และความรู้สึกที่ดี ผ่านกระบวนทำงานที่ครูออกแบบไว้ให้
          ครูที่ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มักเป็นครูที่มีความตั้งใจและสนุกในการทำงานสอน เป็นคนช่างสังเกตและเอาใจใส่ผู้เรียน และมักจะได้ผลการตอบสนองที่ดีจาก
ผู้เรียน แม้จะยังไม่มากในจุดเริ่มต้น แต่เมื่อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในทางที่ดีขึ้น ในประเด็นของการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะได้กล่าวถึงเทคนิคต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อครู ในตอนต่อไป
2.1.3 ความสำคัญและกระบานการตัดต่อของโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ
          2.1.3.1 ความสำคัญของโปรแกรม Avidemux
                   ความสอดคล้องของภาพและเสียง 
ถ้าเราตัดต่อไฟล์ที่แตกต่างในเรื่องของความเร็วเสียง bitrate audio, ให้เราเปิด AudioBuild VBR Time Map ก่อนที่เราจะเริ่มการแก้ไขใดๆ หาไม่แล้วภาพและเสียงก็จะไม่ไปด้วยกันได้
Markersการตัดต่อวีดีโอ จะเกิดขึ้นในจุดที่เราเรียกว่า marker คือกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย เป็นจุด A และ จุด B ทั้งนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดในการตัดต่อนั้นเอง เราสามารถกำหนดได้โดยการคลิกเลือก ปุ่ม A และ เราสามารถกระโดดไปยังจุดใดๆ ของ marker A or B โดยใช้ Go
Go to Marker A or GoGo to Marker B ตำแหน่งของ Marker ยังแสดงที่บริเวณด้านล่างของจอแสดงผล ภายใต้กลุ่มของ Selection section : แน่นอนว่า marker A ไม่สามารถมาอยู่หลัง marker B. ถ้าหากเราพยายามที่จะสลับตำแหน่งกัน โปรแกรม Avidemux ก็จะไม่ยอมโดยจะเลื่อนตำแหน่งให้เราอัตโนมัติแทน
การบันทึก หรือ saving
          การบันทึกส่วนที่เราตัดต่อไปที่ File
SaveSave Video. ทุกๆ frame จากจุด marker A ไป marker B จะถูกบันทึก
          การนำออก Removing ไปที่ Edit
Delete menu entry จะลบออก frames จากจุด [A,B)
แหล่งเสียงภายนอก External audio source  เมื่อเราตัดหรือแก้ไข video ที่มีเสียงภายนอก , Avidemux จะไม่ตัดส่วนของเสียงภายนอกเพื่อปรับหรือสอดคล้องกับวีดีโอ
          มี 2 ทางเลือกให้เสียงภายนอกสอดคล้องกับงานของเรา ด้วย Avidemux
                   1. ตัดและแก้ไขไฟล์เสียงด้วยตัวคุณเอง ด้วยโปรแกรมตัดต่อเสียง
                   2. แก้ปัญหาด้วยการตัดต่อ ด้วย Avidemux 2 ครั้ง
                             ครั้งที่ 1 ใช้ Avidemux เพื่อเพิ่มเสียงจากภายนอกเข้ามา จากนั้นบันทึก save your video.
                             ครั้งที่ 2 เมื่อรวมเสียงแล้ว เปิดใหม่ด้วย Avidemux และตอนนี้จะ automatically สอดคล้องเสียงและภาพเมื่อเราตัดต่อ
          Intra frames and SmartCopy
                   ส่วนนี้ใช้งานเฉพาะ video อยู่ใน copy mode (encoder กำหนดเป็น Copy) ใน process mode (ถ้า encoder ถูกเลือกในการเข้ารหัส ), Avidemux ภายในเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างถูกต้อง
คำเตือน : เมื่อรูปแบบถูกกำหนดเป็น “AVI, unpack VOP”, Avidemux จะใช้งาน copy mode สำหรับทุก frames (รวมทั้ง “broken” ones) แม้ว่า video encoder จะถูกเลือกในการเข้ารหัส . SmartCopy mode จะไม่ทำงานเพราะว่า SmartCopy ต้องการเข้ารหัสอีกครั้งสำหรับ broken frames. โดยปกติ , แต่ละ frame ของ video จะไม่แตกต่างจากที่เป็นมา ปากของคนอาจจะขยับ หรือพื้นหลังอาจจะย้ายไปรอบๆ และอื่นๆ การเข้ารหัส video codecs ส่วนมากจะใช้ความจริงข้อนี้ในการบันทึก โดยการบันทึก frame ทุกๆ 4-5 วินาที และทำให้ frames อื่นๆ ปรับแต่งง่ายๆ ตามตัวแบบของ frame. โดย frames ที่สมบูรณ์จะอ้างถึงในนามของ Intra frames, หรือบางครั้ง I-frames หรือ keyframes.
Markers ไม่จำเป็นต้องอยู่ในทุกๆ key frames, ดังนั้นงานตัดต่อของเราอาจจะดูคล้ายๆ แบบนี้ :
          abAdeIghBjklInop
                   ตัวเล็กแทนที่ frames ตรงกลาง เมื่อ A และ B คือ marked frames, และ I คือ intra frame. เมื่อเราตัด frames [A,B), เราจะจบลงด้วย
          abjklInop
                   เมื่อ frames jkl แตก , เพราะว่าการระบุเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับ I-frame ซึ่งไม่มีอยู่แล้ว ปกติจะมี 2 วิธีในการแก้ไข : ต้องแน่ใจว่า B marker เป็น I-frame. กรณีนี้จะไม่มีปัญหา ถ้าเราใช้ MSMPEG-4 (DivX ;-) 3) or MPEG-4 video, เราสามารถใช้ smart copy mode. Smart copy จะปล่อยให้เฟรมส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะ re-encode ส่วนที่เสียตัวอ้างด้วย fixed quantizer. ดังนั้นในตัวอย่างของเรา frames ab และ nop จะไม่เปลี่ยนแปลง , แต่ frames jkl จะถูกเข้ารหัสอีกครั้ง โดย Smart copy จะถามค่าของ quantizer ใช้งาน เป็น – 4 หรือ 5
          Copy/paste
                   Frames สามารถ copied และ pasted โดยการ Ctrl-C และ Ctrl-V. เมื่อ copying, เราต้องแน่ใจว่า first frame ที่เรา copy เป็น I-frame; เมื่อวางลง , frame หลังจากจุดที่วางจะต้องเป็น I-frame. Smart copy จะทำงานในกรณีนี้ แต่จะไม่ทำงานใน streams ที่มี B-frames. ตัวอย่างของ cutting/deleting frames
          สร้าง VBR time map
                   1. ถ้าเราตัดต่อไฟล์ที่แตกต่างในเรื่องของความเร็วเสียง bitrate audio, ให้เราเปิด Audio
Build VBR Time Map ก่อนที่เราจะเริ่มการแก้ไขใดๆ หาไม่แล้วภาพและเสียงก็จะไม่ไปด้วยกันได้
Markers
                   2. ใช้ Marker A เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น ในการ edit.
                   3. ใช้ Mark B กำหนดจุดสุดท้ายในการ edit. เราสามารถยืนยันจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย ที่บริเวณด้านล่างของจอแสดงผล Y ในส่วนของ Selection section
                   4. Cut/delete คำสั่ง Edit
Delete จะนำออกจากจุด [A,B) from the stream.
การบันทึก Save video
                   5. บันทึกส่วนที่มีการลบ ไปที่ menu File
SaveSave Video. เราอาจจะสามารถใช้  Video Copy และ Audio Copy modes ในการ edit, แต่เราไม่สามารถเข้ารหัส  encode the video.
การตัดต่อแบบ Advanced cutting  Autosplit ไปที่  File
AVI Muxer Options, เราสามารถระบุขนาดไฟล์ในรูปแบบของ megabytes. ทุกครั้งที่ไฟล์ถึงขนาดที่เราระบุ และ intra frame is present, Avidemux จะสร้างไฟล์ใหม่ โดยเราจะได้ไฟล์ เป็น  foo.avi.1, foo.avi.2 etc.
          2.1.3.2 ความสำคัญของโปรแกรม Lightworks
                    Lightworks (โปรแกรมตัดต่อวีดีโอมืออาชีพ Lightworks) : โปรแกรมนี้มีความสามารถเทียบเท่ากับโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ต้องมีการจ่ายเงินซื้อมาด้วยราคาแพงๆ เพื่อให้ได้ฟังก์ชั่นการทำงานที่สามารถตัดต่อหนังในระดับหนังฮอลิวูดได้กันเลยทีเดียว โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ นามว่า Lightworks ถ้ามองดูผิวเผินนั้นก็คงดูไม่ออกเลยว่า มันเป็นโปรแกรมประเภทที่เปิดให้ใช้งานกันฟรีๆ (Open Source) เพราะด้วยแถบเครื่องมือที่มีเยอะมากมาย จนมองแทบจะลายตากันเลย โปรแกรมดูหนัง นี้คุณอาจจะคิดว่าโปรแกรมใช้งานยากหรือเปล่า แถบเครื่องมืออะไรเยอะจัง แต่นี้แหละคะข้อดีของเขา คุณสามารถตัดต่อวีดีโอของคุณให้ดูดี มีสไตล์ ดูยังกับมืออาชีพมาทำเองเลย (ถ้าไม่ได้บอกใครว่าทำเองนะ)
โปรแกรมนี้ยังมาพร้อมกับการทำงานแบบเรียลไทน์ ที่สามารถอัพโหลดวีดีโอของคุณขึ้น Youtube, Facebook, Twiiter และอื่นๆ ได้ทันทีเมื่อคุณสร้างวีดีโอของคุณสำเร็จ และคุณยังสามารถปรับแต่งเทมเพลสของตัวโปรแกรมให้มีสีสันตามที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นส่วนบนของแทบเครื่องมือ เมนู หรือแม้กระทั้งสีของตัวอักษรในส่วนต่างๆ ของตัวโปรแกรมก็ตาม เรียกได้ว่าคุ้มเกินคุ้มกันเลยทีเดียวสำหรับโปรแกรมตัวนี้ ถ้าใครไม่อยากพลาดโปรแกรมดีๆ ที่แจกกันฟรีๆ ก็ดาวน์โหลดเก็บไว้ และนำไปใช้กันเลย

Program Features (คุณสมบัติและความสามารถของโปรแกรมตัดต่อวีดีโอมืออาชีพ Lightworks) :
-          ตัดต่อวีดีโอ และออดิโอ ได้ง่ายๆ และรวดเร็ว
-          การทำงานอาจจะยุ่งยากอยู่สักหน่อยเพราะมีไอคอนการทำงานที่เยอะ
-          ใช้งานฟรีแน่นอน 100%
-          เป็นโปรแกรมฟรีที่มีเครื่องมือระดับมืออาชีพ
-          มีเอฟเฟคให้เลือกใช้งานมากมาย
-          เพิ่มเอฟเฟค : คุณสามารถเพิ่มเอฟเฟคเข้าไปในโปรแกรมนอกเหนือจากที่มีมาพร้อมกับตัวโปรแกรมได้ โดยการโหลดปลั๊กอินเอฟเฟคนั้นๆ มาใส่เพิ่มเติมลงไป
-          โปรแกรม Lightworks ยังถูกออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับกราฟฟิกการ์ดทั้ง AMD และ NVDIA
-          สามารถนำตัวกราฟิกมาช่วยเร่งความเร็วในการเรนเดอร์วีดีโอที่ถูกตัดต่อได้อีกด้วย
-          สามารถอัพโหลดวีดีโอที่ตัดต่อขึ้น Youtube ได้โดยตรง
-          มีระบบจัดการเนื้อหา (Content Manager) ให้คุณได้สามารถจัดการคลิปวีดีโอ ที่มีอยู่ในระบบ แก้ไข ค้นหาคลิป ที่มีอยู่ในเครื่อง ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
-          มีระบบ "Play Engine" เพื่อหาค่าต่างๆ อาทิเช่น Interlaced หรือ Progressive Material อย่างอัตโนมัติ
-          มีระบบ "Colour Correction" เพื่อให้ปรับแก้ไขค่าต่างๆ แสงสีต่างๆ อาทิเช่นค่า HSV ค่า RGB และ Curve ในวีดีโอ ได้ง่ายๆ จากหน้าจอเดียว
-          สนับสนุน Avid DNxHD, AVC-Intra, DVCPRO HD, RED R3D, DPX, AVCHD (with AC3 audio), H.264, XDCAM EX / HD 422 และอื่นๆ
-          สามารถแชร์วีดีโอผ่าน Facebook Instagram และอื่นๆ
-          สามารถปรับแต่งเทมเพลสของตัวโปรแกรมให้มีสีสันตามที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นส่วนบนของแทบเครื่องมือ เมนู หรือแม้กระทั้งสีของตัวอักษรในส่วนต่างๆ ของตัวโปรแกรมก็ตาม
          2.1.3.3 ความสำคัญของโปรแกรม Final Cut Pro X (For Mac))
                   ประสิทธิภาพระดับ 4K ไม่มีอะไรเลยที่คุณจะไม่ประทับใจ
                             การทำงานในระดับ 4K แบบพิกเซลต่อพิกเซลโดยที่ไม่มีการช้าลงเลยนั้น ต้องขอบคุณ Dual GPU ระดับเวิร์กสเตชั่นอย่าง AMD FirePro และโปรเซสเซอร์ Intel Xeon E5 รุ่นล่าสุดใน Mac Pro ที่ผนึกกำลังกันเพื่อให้คุณสามารถรันวิดีโอ 4K พร้อมกันสามสตรีมได้สบายๆ (หรือมากยิ่งกว่านั้นสำหรับวิดีโอ HD) และยังแรงพอสำหรับแสดงผลบนจอภาพ 4K ได้ถึง จอ ประมวลผลเอฟเฟ็กต์แบบเรียลไทม์ หรือแม้แต่ตัดต่อคลิป 4K แบบมัลติแคมเพียงเท่านี้คุณก็มีสุดยอดขุมพลังสำหรับการตัดต่อวิดีโอแล้ว
                   การต่อขยายที่ไม่เคยมีมากเท่านี้มาก่อน ที่ 20Gb/s
                             Thunderbolt 2 ทั้ง 6 พอร์ต คือนิยามใหม่ของการต่อขยายอุปกรณ์ที่ให้คุณรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดถึง 20Gb/s โดยไม่ถูกจำกัดด้วยจำนวนช่อง PCI Express ภายในเครื่อง เชื่อมต่อ SAN หรือ RAID Storage ความเร็วสูงเฉพาะเครื่อง แล้วเพิ่ม I/O สัญญาณภาพ, Broadcast Monitor, การ์ด PCI Express ที่มีอยู่เดิม และอะไรก็ได้ที่การทำงานของคุณต้องการ และด้วยช่อง HDMI ขาออก คุณจึงสามารถใช้ทีวี 4K เป็น Preview Monitor ได้อีกด้วย ในตอนนี้ บรรดาผู้ผลิตอย่างเช่น Promise, AJA และ Blackmagic ต่างก็กำลังสร้างอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลประสิทธิภาพสูง Video I/O และโซลูชั่นด้านการต่อขยายที่ล้ำสมัยอีกมากมายสำหรับ Thunderbolt 2 นอกจากนี้ ข้อดีอีกประการหนึ่งของ Thunderbolt ก็คือ คุณสามารถย้ายอุปกรณ์ต่อพ่วงประสิทธิภาพสูงจาก Mac เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งตามงานที่ต้องทำได้ง่าย และเทคโนโลยี Thunderbolt ทั้งสองรุ่นก็ยังใช้งานร่วมกับ Mac Pro ใหม่ได้อย่างไม่มีปัญหา

          Final Cut Pro X ที่ได้รับการปรับแต่งมาให้เหมาะกับ Mac Pro ที่สุด  Final Cut Pro X เวอร์ชั่นใหม่ (พร้อมจำหน่ายธันวาคมนี้) ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถระดับ 4K ของ Mac Pro อย่างเต็มที่ โดย Dual GPU ระดับเวิร์กสเตชั่นใน Mac Pro จะช่วยเพิ่มความเร็วให้กับการใส่เอฟเฟ็กต์ การวิเคราะห์ Optical Flow การเอ็กซ์พอร์ตวิดีโอ และเกือบทุกอย่างที่คุณทำใน Final Cut Pro ขณะที่ Flash Storage แบบ PCIe ที่เร็วสุดยอดยังทำให้สามารถโหลดโปรเจ็กต์และเล่นวิดีโอ 4K แบบหลายสตรีมได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ตัว Final Cut Pro X เองก็ยังได้รับการปรับแต่งมาอย่างลงตัวเพื่อใช้ประโยชน์จาก Mac Pro ใหม่อย่างเต็มที่ คุณจึงสามารถทำงานในระดับ 4K แบบเรียลไทม์ได้โดยไม่ต้องเรนเดอร์ (ลองคิดตามดูดีๆ สิ แล้วคุณก็จะเข้าใจว่ามันน่าทึ่งขนาดไหน)

-          ประสิทธิภาพของ Final Cut Pro X
-          ประสิทธิภาพของ DaVinci Resolve 10 = 4.4 เท่า
-          การแก้ไขสี 4Kอินสแตนซ์  =  4.0 เท่า
-          สตรีมแบบภาพซ้อนภาพ 4Kการสตรีมพร้อมกัน = 2.9 เท่า
-          เรนเดอร์ 4K ความเร็วในการเรนเดอร์  =  2.7 เท่า
-          มุมกล้องมัลติแคม 4Kการสตรีมพร้อมกัน  =  2.6 เท่า
-          ปรับเวลา Optical Flow ระดับ 4Kความเร็วในการประมวลผล  =  1.0 เท่า
-          ค่ามาตรฐาน  =  6.0 เท่า
-          ฟิลเตอร์ลดนอยซ์ 1080p2 Nodes  =  3.0 เท่า
-          ฟิลเตอร์ภาพเบลอ 4K4 Nodes  =  1.0 เท่า
-          ค่ามาตรฐาน  มาตรฐาน Dual GPU
-          จอภาพ 4K  สูงสุด 3 จอ
-          การสร้างโมเดล 3D และแอนิเมชั่น
          ขุมพลังที่ทรงประสิทธิภาพแม้แต่กับโมเดลที่ใหญ่ที่สุด GPU คู่ระดับเวิร์กสเตชั่นอย่าง AMD FirePro ที่มาพร้อมกับ Mac Proทุกเครื่อง มีหน่วยความจำวิดีโอสูงถึง 12GB และแบนด์วิธหน่วยความจำสูงถึง 528GB/s คุณจึงสามารถพลิกแพลงโมเดลซับซ้อนที่มีรูปทรงเรขาคณิตขนาดมหึมาและพื้นผิวที่ใหญ่โตได้ไม่ยาก และยังสามารถจัดการกับโมเดลด้วยรายละเอียด ความเร็ว และการตอบสนองในระดับที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อน ซึ่งในขณะเดียวกัน Mac Pro ก็ยังทำงานร่วมกับ OpenGL 4.1 ใน OS X เพื่อรองรับคุณสมบัติสุดล้ำอย่างเช่นTessellation Shaders ได้ด้วย
                   นอกจากการเรนเดอร์ที่เร็วสุดแรงแล้ว อย่างอื่นก็เร็วไม่แพ้กัน
                             โปรเซสเซอร์ Intel Xeon E5 ซึ่งมีให้เลือกสูงสุดถึงแบบ 12-core มีแบนด์วิธหน่วยความจำถึง 60GB/s จึงทำให้การเรนเดอร์นั้นเร็วเหลือเชื่อ และ Flash Storage แบบ PCIe พร้อมด้วยหน่วยความจำ 1866MHz ก็ยังช่วยให้ทุกอย่างที่คุณทำเป็นไปได้อย่างรวดเร็วทันใจ
                   การทำงานร่วมกันแบบความเร็วสูง
                             ด้วย Thunderbolt 2 คุณสามารถเชื่อมต่อกับเวิร์กกรุ๊ปผ่านอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบ SAN หรือ NAS ที่ใช้ร่วมกันด้วยแบนด์วิธที่สูงสุดถึง 20Gb/s หรือถ้าอยากต่อสายง่ายๆ เพื่อถ่ายโอนข้อมูลอย่างรวดเร็ว OS X Yosemite ก็รองรับ IP Over Thunderbolt ซึ่งช่วยให้คุณเชื่อมต่อระดับ 10Gb กับ Mac อีกเครื่องได้โดยแค่จ่ายค่าสายเพียงเส้นเดียว และยังสามารถเชื่อมต่อ Mac Pro หลายเครื่องเข้าด้วยกันด้วยสาย Thunderbolt เพื่อสร้างเครือข่ายของคลัสเตอร์สำหรับการเรนเดอร์ได้ทันที
-          ประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่น 3D3  =  8.4 เท่า
-          CompuBench GraphicsT-Rex: การวนซ้ำ  =  5.0 เท่า
-          MariDOME_SH_106: FPS ในการเล่น  =  4.8 เท่า
-          LuxmarkRoom: จำนวนตัวอย่างต่อวินาที  =  1.0 เท่า
-          ค่ามาตรฐาน  หน่วยความจำสูงสุด  =  12GB
-          กำลังการคำนวณสูงสุด  7  เทราฟลอป
                   รูปภาพ  อิมพอร์ตและเอ็กซ์พอร์ตได้เร็วชั่วพริบตา
                             Flash Storage แบบ PCIe ให้คุณอิมพอร์ตไฟล์รูปภาพขนาดใหญ่ได้เร็วกว่า Mac Pro รุ่นก่อนถึง 4 เท่า ขณะที่โปรเซสเซอร์ Intel Xeon E5 ที่ทรงพลังและ AMD FirePro GPU ก็จะช่วยให้คุณปรับแต่ง ใส่ฟิลเตอร์ และใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับรูปได้แบบสบายๆ
                  

                   เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงเจเนอเรชั่นใหม่ด้วยเจเนอเรชั่นใหม่ของความเร็ว
                             Thunderbolt 2 ให้คุณเชื่อมต่อได้เร็วสุดๆ ที่ 20Gb/s กับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เร็วสุดยอด ตั้งแต่ไดรฟ์พกพาที่เหมาะสำหรับใช้งานภาคสนามไปจนถึง RAID Array ความจุสูง อีกทั้งยังมี USB 3 ที่สามารถเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงกับกล้องและตัวอ่านมีเดียการ์ดได้ และยิ่งเมื่อการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำได้โดยตรงผ่าน Thunderbolt เลย คุณจึงสามารถนำ MacBook Pro จอภาพ Retina ไปใช้นอกสถานที่แล้วถ่ายโอนข้อมูลงานกลับมาที่ Mac Pro ได้ทันที
                   ปรับแต่งรูปภาพในระดับ 4K
                             ด้วย Mac Pro ใหม่และคุณสมบัติการรองรับหลายจอภาพอันทรงพลังใน OS X Yosemite คุณสามารถปรับแต่งรูปภาพแบบเต็มจอบนจอหนึ่งและเปิดเบราเซอร์เพื่อเลือกรูปบนอีกจอได้ และยังสามารถต่อกับจอภาพ 4Kที่มีกว่า 8 ล้านพิกเซล เพื่อดูรูปถ่ายด้วยรายละเอียดที่สุดยอดยิ่งกว่าที่เคยมีมาได้ด้วย
-          ประสิทธิภาพของ Aperture 34  =  1.9 เท่า
-          อิมพอร์ตรูปภาพมายัง Library  =  1.5 เท่า
-          เอ็กซ์พอร์ต TIFF ระดับ 16 บิต  =  1.0 เท่า
-          ค่ามาตรฐาน  Flash Storage แบบ PCIe รุ่นใหม่
-          เร็วกว่า  =  2.4 เท่า
เมื่อเทียบกับโซลิดสเตทไดรฟ์แบบ SATA Thunderbolt 2  เร็วกว่า  25 เท่า  เมื่อเทียบกับ FireWire 800การออกแบบและเลย์เอาท์
         
                   ความสวยงามของการทำงานที่ระดับ 4K
                             คุณจะสามารถกางเลย์เอาท์ เปิดเว็บเพจ รูปภาพ และเครื่องมือต่างๆ ได้เต็มที่บนเดสก์ท็อปที่ใหญ่โตด้วยจอภาพ 4K และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำงานกับหน้าหนังสือพิมพ์ขนาด 11x17 สองหน้าแบบวางข้างกัน โดยยังมีที่เหลือสำหรับเครื่องมือและหน้าต่างอื่นๆ และหากคุณมีจอภาพแบบเดิมหลายจอ อย่างเช่น Apple Thunderbolt Display ขนาด 27 นิ้ว 2 จอ คุณสมบัติการรองรับหลายจอภาพใน OS X Yosemite ก็จะช่วยให้คุณทำงานกับหลายแอพแบบเต็มจอพร้อมกันได้ และยังช่วยให้เมนูและ Dockอยู่ใกล้มือคุณเสมอ และพร้อมใช้งานได้อย่างสะดวกไม่ว่าคุณจะทำงานอยู่บนจอไหนก็ตาม
                   เร่งความเร็วให้กับเวิร์กโฟลว์ของคุณ
                             โปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์ที่เร็วสุดแรง พร้อมแบนด์วิธหน่วยความจำสูงถึง60GB/s ช่วยให้ระบบมัลติทาสก์ทำงานได้เร็วและตอบสนองทันใจ และFlash Storage ที่เร็วสุดยอดก็ให้คุณคัดลอก เปิด บันทึก และทำงานกับรูปภาพและเอกสารได้อย่างรวดเร็วลื่นไหลไม่ว่าไฟล์จะมีขนาดใหญ่แค่ไหนก็ตาม นอกจากนี้ ด้วยระบบเครือข่ายที่มีอยู่ในตัว ทั้ง Gigabit Ethernet และระบบไร้สาย 802.11ac ที่ทำงานร่วมกับโปรโตคอลในการแชร์ไฟล์ SMB3ใหม่ล่าสุดใน OS X Yosemite คุณจะสามารถเชื่อมต่อกับเวิร์กกรุ๊ปได้สะดวกรวดเร็วและก็ง่ายดายมากๆ
-          ประสิทธิภาพของ Pixelmator 35  =  2.4 เท่า
-          เอฟเฟ็กต์ Crystallize  =  2.3 เท่า
-          Zoom to Fit  =  2.0 เท่า
-          เอฟเฟ็กต์ Zoom Blur  =  1.0 เท่า
                   ค่ามาตรฐานเสียงพลังที่มากขึ้นอย่างทั่วถึง
                             Mac Pro รุ่นใหม่มีคอร์ในการประมวลผลสูงสุดถึง 12 คอร์ (คอร์เสมือนสูงสุด 24 คอร์) และมีแบนด์วิธหน่วยความจำสูงถึง 60GB/s ซึ่งมากกว่ารุ่นก่อนถึงสองเท่า ซึ่งจะทำให้ตอนนี้คุณสามารถทำงานกับแทร็คต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีเสมือน ปลั๊กอิน และเอฟเฟ็กต์ ได้มากยิ่งกว่าเดิมอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน และ Flash Storage แบบ PCIe ที่เร็วสุดแรงยังสามารถโหลดเครื่องดนตรี ตัวอย่างเสียง และลูปได้แทบจะในทันที
                   เชื่อมต่อกับเทคโนโลยี I/O เจเนอเรชั่นใหม่
                             Thunderbolt 2 ทั้ง 6 พอร์ต และ USB 3 อีก พอร์ตนี้คือนิยามใหม่ของการต่อขยาย เพราะคุณสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ Audio I/O ที่ดีที่สุดได้ถึง 36 ชิ้น ทั้งจาก Avid, Apogee, M-Audio, MOTU, Universal Audio และอีกมากมาย และยังสามารถใช้กล่องต่อขยาย PCI ที่เชื่อมต่อผ่าน Thunderbolt เพื่อทำงานกับ DSP และ Audio I/O แบบการ์ด PCI Express ที่คุณมีอยู่แล้วได้ด้วย
-          แบนด์วิธหน่วยความจำสูงสุด  =  60GB/s
          วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอร์มากขึ้น พลังมากขึ้น ข้อมูลมากขึ้น ตอนนี้คุณสามารถจัดการกับชุดข้อมูลมากมายมหาศาลได้สบายๆ ด้วยโปรเซสเซอร์ Intel Xeon E5 รุ่นล่าสุดที่มีให้เลือกมากถึง 12 คอร์ และหน่วยความจำ 1866MHz แบบ ECC ที่มีแบนด์วิธสูงถึง 60GB/s ซึ่งถือว่ามีแบนด์วิธสูงกว่า Mac Pro รุ่นก่อนถึงสองเท่าเลยทีเดียว
         
                   การคำนวณ GPU ด้วย OpenCL
                             OpenCL ให้คุณสามารถดึงพลังการคำนวณแบบคู่ขนานของ GPU และ CPU แบบมัลติคอร์ยุคใหม่มาใช้เพื่อเร่งประสิทธิภาพของงานที่เน้นการคำนวณในแอพ Mac ของคุณได้ โดยคุณสามารถใช้ OpenCL เพื่อนำคุณสมบัติขั้นสูงด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและตัวเลขเข้ามาใช้งานร่วมกัน ทำการโปรเซสภาพและสื่อแบบสุดล้ำ และจำลองการเคลื่อนไหวตามหลักฟิสิกส์ได้อย่างแม่นยำ และยิ่งเมื่อใช้ OpenCL ร่วมกับ FirePro ซึ่งเป็น Dual GPU ระดับเวิร์กสเตชั่นที่มีถึง 4096 สตรีมโปรเซสเซอร์ และมีหน่วยความจำ GDDR5 ความเร็วสูงถึง 12GB แอพพลิเคชั่นต่างๆ ก็สามารถดึงพลังในการคำนวณมาใช้ได้สูงสุดถึง 7 เทราฟลอปเลยทีเดียว
                   ข้อมูลของคุณ ในรายละเอียดมากมายมหาศาล
                             การที่สามารถเชื่อมต่อจอภาพระดับ 4K ได้ถึง 3 จอ ช่วยให้คุณแสดงผลข้อมูลออกมาได้ครบทุกรายละเอียดอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อนจนถึงวันนี้ เรียกได้ว่าคุณมีเกือบ 25 ล้านพิกเซลอยู่ในความควบคุมของคุณเองเลยล่ะ

          2.1.4.4 ความสำคัญของโปรแกรม Power Director
                   เริ่มต้นกับ Power Director
                             คู่มือการใช้งานชุดนี้ จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเป็นแนวทางในการใช้งานโปรแกรม Power Director 5 NE (สำหรับใครที่ใช้งานเวอร์ชั่น 3Express อยู่ก็สามารถใช้อ้างอิงได้) โดยคู่มือชุดนี้จะเน้นเฉพาะการใช้งานในส่วนต่างๆ ของโปรแกรมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้งานร่วมกับกล้อง วิดีโอ Everio ของ JVC เท่านั้น สำหรับส่วนอื่นๆ ของโปรแกรมที่นอกเหนือจากคู่มือฉบับนี้ผู้ใช้งานสามารถดูได้จาก User guideของโปรแกรม โปรแกรม Power Director 5NE เป็นเวอร์ชั่นพิเศษที่ทำขึ้นเพื่อจำหน่ายไปพร้อมกับกล้องวิดีโอ Everio ของ JVC เท่านั้น สำหรับเวอร์ชั่นเต็มคือ Power Director 5 นั้นสามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายซอร์ฟแวร์ทั่วไปหรือทางเว็บไซต์
                   เตรียมพร้อมก่อนการทำงาน
                             ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน Power Director สิ่งสำคัญที่จะต้องเตรียมพร้อมก่อนที่จะทำงานมีดังนี้
                             1. ให้ทำการโหลดไฟล์วิดีโอ (ไฟล์ .MOD ที่อยู่ในโฟลเดอร์ SD_VIDEO/PRGxxx) จากกล้อง Everio, ไฟล์ภาพนิ่ง, ไฟล์เสียงต่างๆ (ถ้าต้องการใส่ภาพนิ่งและเสียงต่างๆ รวมอยู่ในวิดีโอที่จะทำด้วย) มาเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ก่อน
                             2. ในฮาร์ดดิสก์ที่โปรแกรมติดตั้งอยู่ (ส่วนใหญ่จะเป็นไดร์ฟ C) จะต้องทำให้มีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 5 GB สำหรับการทำ DVD และ 1 GBสำหรับการทำ VCD
                             3. ปิดโปรแกรมต่างๆ ที่มีการทำงานอยู่ตลอดเวลาเช่น โปรแกรม Antivirus, โปรแกรม Chat ต่างๆ เป็นต้นเมื่อเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็พร้อมที่จะทำงานแล้ว
                   ส่วนต่างๆ ของ Power Director
                             โปรแกรม Power Director เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควรสำหรับการสร้างสรรค์งานวิดีโอ ซึ่งส่วนการทำงานต่างๆ ของโปรแกรมนั้นมีดังนี้
                             1. Capture คือส่วนการทำงานสำหรับการแคปเจอร์ (การที่โปรแกรมทำการโหลดข้อมูลวิดีโอ, เสียง แล้วสร้างให้ออกมาเป็นไฟล์ข้อมูลที่จะทำโปรแกรมในคอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานได้) ภาพวิดีโอหรือเสียงจากสื่อต่างๆ ซึ่งรองรับกับการ์ด วิดีโอ/ออดิโอ แคปเจอร์ต่างๆ อย่างหลากหลาย
                             2. Edit ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของโปรแกรม และก็จะเป็นส่วนที่จะกล่าวถึงมากที่สุด ส่วนนี้นั้นจะเป็นส่วนสำหรับการเติมแต่ง/ตัดทอนวิดีโอของเราให้เป็นไปตามที่ต้องการ
                             3. Produce คือส่วนที่จะทำการเข้ารหัสข้อมูลวิดีโอที่เราทำในส่วน Edit ให้ออกมาเป็นไฟล์วิดีโอที่ใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือจะเอาไปสร้างเป็นแผ่น DVD Video, VCD หรือจะเอาไปทำอย่างอื่นก็สุดแล้วแต่เราจะดำเนินการต่อไป
                             4. Burn ส่วนนี้จะเป็นส่วนของการสร้างแผ่นวิดีโอดิสก์ แต่สำหรับเวอร์ชั่นที่มาพร้อมกับกล้อง Everio นั้นไม่สามารถใช้งานส่วนนี้ได้
รายละเอียดของส่วนต่างๆ ข้างบน เป็นไปตามรูปในหน้าถัดไป
          ส่วนต่างๆ ของโปรแกรมในโหมด Edit
                   Editing video
                             เมื่อรู้จักกับส่วนต่างๆ ของโปรแกรมในโหมด Edit แล้ว ต่อไปเราจะมาดูกันถึงการแก้ไข (ต่อไปขอใช้คำว่า ตัดต่อนะเพราะเป็นคำที่เข้าใจง่ายและค่อนข้างคุ้นเคยกัน) วิดีโอ, ภาพนิ่ง, เสียง, ข้อความ และเอฟเฟคต่างๆ ที่จะทำให้วิดีโอของเราดูแล้วเป็นมืออาชีพมากขึ้น หรือพูดง่ายๆ คือทำให้มันดูเหมือนกับแผ่นหนังที่เราซื้อมาดู ขั้นตอนการทำงานสำหรับการตัดต่อวิดีโอเป็นดังนี้
                             1. โหลดไฟล์วิดีโอ, ภาพนิ่ง และเสียง เพื่อให้มาอยู่ในบริเวณ Media library
                             2. สำหรับไฟล์วิดีโอและภาพนิ่ง ให้คลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการที่อยู่ใน Media library แล้วลากไฟล์นั้นๆ ลงมาวางในช่องบนสุดของMedia tracks
                             3. ถ้าต้องการแทรกเสียงต่างๆ (อาจจะเป็นเสียงเพลง เสียงบรรยาย เป็นต้น) เข้าไปในวิดีโอเราด้วย ก็ให้คลิกลากไฟล์เสียงลงมาวางในช่องที่ 3 และ 4 (นับจากด้านบน) โดยวางลงไปช่องไหนก็ได้
                             4. ถ้าต้องการแทรกอักษรต่างๆ เข้าไปด้วย ก็ทำได้โดยการ คลิกที่ปุ่ม Titles (ปุ่มฟังก์ชั่นรูปตัว T) จากนั้นก็คลิกเลือกแบบอักษรที่ต้องการที่โชว์อยู่ใน Media library ลากลงมาวางในช่องที่สองของ Media tracks
                             5. จากนั้นก็ทำการแก้ไขส่วนต่างๆ ตามที่ต้องการ ซึ่งจะกล่าวต่อไปเป็นส่วน 
          หลังจากที่โหลดไฟล์ต่างๆ มาเรียบร้อยแล้ว และได้รู้จักวิธีการปรับมุมมองของ Media library แล้ว ต่อไปเราก็จะมาเริ่มส่วนของการตัดต่อกันจริงๆ แล้วครับ โปรแกรม Power Director เวอร์ชั่นที่มาพร้อมกับกล้อง Everio นั้นถึงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพค่อนข้างจำกัดแต่ก็เพียงพอที่จะทำงานได้ค่อนข้างดีทีเดียวครับ ในการตัดต่อวิดีโอนั้นส่วนสำคัญที่สุดก็คือส่วนของ Media tracks ซึ่งประกอบไปด้วยช่อง (Track) สำหรับภาพนิ่งและภาพวิดีโอ (ช่องบนสุด), ช่องสำหรับใส่ข้อความแทรก (Titles) (ช่องที่สองนับจากด้านบนลงไป), ช่องสำหรับใส่ไฟล์ที่เกี่ยวกับเสียงมีสองช่อง (ช่องที่สามและสี่ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ) และในบริเวณนี้ก็จะมีส่วนของเส้นเวลา(Time line) และจะมีไสลต์บาร์ที่เอาไว้สำหรับเลื่อนดูภาพที่จะแสดงให้เห็นตรงบริเวณ Preview windows
          ขั้นตอนการทำงานมีดังนี้
                   1. คลิกที่คลิปไฟล์ใน Media library ตามที่ต้องการ จากนั้นลากไฟล์นั้นลงมาวางในช่องแต่ละช่องด้านล่าง
                   2. สำหรับช่อง Videos/Pictures สามารถจะใส่ไฟล์ได้ไม่จำกัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรจะกำหนดเวลาให้เหมาะกับการทำวิดีโอหนึ่งเรื่องข้อควรระวัง ถ้าใส่คลิปวิดีโอ/ภาพนิ่ง เข้าไปมากๆ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะหนักมาก ซึ่งส่งผลให้คอมพิวเตอร์จะช้ามากขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งอาจจะทำให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ได้ หรือบางครั้งโปรแกรมจะแฮงค์แล้วปิดตัวเองไปเลย
                   3. ที่ Time line สามารถที่จะปรับเวลาให้หยาบหรือระเอียดได้ตามต้องการ โดยให้เลื่อนไปอยู่บริเวณ Time line จุดไหนก็ได้แล้วเมาท์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศร ซ้าย-ขวา จากนั้นก็คลิกเมาท์ค้างไว้แล้วลากไปทางซ้ายเพื่อปรับเวลาให้หยาบขึ้น และลากไปทางขวาเพื่อปรับเวลาให้ละเอียดขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการตัดต่อคลิปวิดีโอ/ภาพนิ่ง
                   4. ต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนสำคัญคือ การตัดทอน/เสริม บางส่วนในคลิปต่างๆ และรวมทั้งการใส่เอฟเฟคต่างๆ เพิ่มเข้าไป เดี๋ยวไปดูในขั้นตอนถัดไป
ขั้นตอนการตัดต่อคลิปวิดีโอ (การกำหนด Chapter (ตอนย่อยๆ ของวิดีโอ))
คราวนี้ก็ขั้นตอนสุดท้ายของการตัดต่อวิดีโอแล้วครับ ข้นตอนนี้ก็คือการกำหนด Chapter (ขั้นตอนจะทำหรือไม่ก็ได้) หรือการกำหนดให้วิดีโอของเราแบ่งออกเป็นตอนย่อยๆ หลายตอนคล้ายกับการกำหนดบทในหนังที่เราอ่านนั่นแหละครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้นเวลาที่นำวิดีโอที่ทำเสร็จแล้วไปเล่น แต่ถ้ายังนึกไม่ออกว่ามันเป็นอย่างไรก็ลองนึกถึงแผ่นดีวีดีหนังที่เราซื้อมาดู ในตอนเริ่มต้นที่เล่นจะตอนย่อยๆ ให้เราเลือกเล่นได้อย่างอิสระ พอเข้าใจแล้วคราวนี้เราก็มาเข้าเรื่องกันเลยครับ ขั้นตอนการทำก็ไม่ยากขั้นตอนเป็นดังต่อไปนี้
                   1. คลิกทีปุ่มฟังก์ชั่น Chapter (  ปุ่มฟังก์ชั่นที่อยู่ด้านซ้ายล่างสุด) จากนั้นส่วนการเซ็ทค่า Chapter ก็จะปรากฏขึ้นดังรูป
                   2. ทำการเซ็ท Chapter ตามที่ต้องการ
                   Producing video
                             หลังจากที่เราใช้เวลาไปพักใหญ่กับการนั่งหลังขดหลังแข็งกับการตัดทอน ตกแต่ง จนเป็นที่หนำใจแล้วกับ Home video ของเราต่อไปก็เป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งก่อนที่เราจะไฟล์วิดีโอตามที่เราได้ทำเอาไว้ก่อนหน้านี้เพื่อที่จะนำไปไรท์ให้เป็นแผ่นวิดีโอ-ดิสก์ หรือจะเอาไปทำอย่างอื่นก็สุดแล้วแต่เราจะจัดการกับมัน ขั้นตอนนี้จะเรียกว่า Rendering แต่ผมขอใช้คำว่าการเข้ารหัสไฟล์วิดีโอแล้วกัน เพราะว่าดูแล้วค่อนข้างตรงกับกระบวนการทำงานของขั้นตอนนี้ กระบวนการทำงานส่วนนี้จะอยู่ในโหมด Produce ซึ่งภายในโหมดนี้จะประกอบไปด้วย
                   1. Create a file คือการสร้างให้เป็นไฟล์วิดีโอเพื่อที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการในแบบต่างๆ ต่อไป
                   2. Create a Streaming file คือการสร้างให้เป็นไฟล์วิดีโอคลิปแบบ MPEG4 เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งข้อมูลผ่านระบบ Internet
                   3. Make a Disc คือการสร้างให้เป็นแผ่นวิดีโอดิสก์โดยการลิงค์ไปที่โปรแกรม Power Producer สำหรับการทำงานในโหมดนี้
รายละเอียดของส่วนต่างๆ ในโหมด Produce นั้นเป็นดังรูปด้านล
          ส่วนต่างๆ ของโปรแกรมในโหมด Produce
                   Produce - Create a File
                             การสร้างไฟล์เพื่อเอาไว้สำหรับเล่นในคอมพิวเตอร์หรือเพื่อที่จะเอาใช้สำหรับสร้างให้เป็นแผ่นวิดีโอดิสก์ด้วยโปรแกรมใดๆ ก็ได้ ก็ให้เลือกที่ Create a File ใน Step 1 แล้วคลิกที่ปุ่ม Next แล้วก็จะมาสู่ขั้นตอนที่สอง ซึ่งจะมีส่วนต่างให้เลือกดังต่อนี้
                             1. เลือกประเภทของไฟล์ที่ต้องการคือ เลือก AVI ต้องการสร้างออกมาเป็นไฟล์วิดีโอตามมาตรฐาน DV Streaming file เลือกMPEG1 ถ้าต้องการสร้างเป็นไฟล์วิดีโอตามมาตรฐาน VCD และเลือก MPEG2 ถ้าต้องการสร้างให้เป็นไฟล์วิดีโอตามมาตรฐาน DVD Video
                             2. ที่ช่อง Profile type ก็ควรจะเลือกค่าที่ดีที่สุดตามที่โปรแกรมกำหนดเอาไว้ให้ แต่ถ้าหากใครที่รู้จักค่าต่างๆ ของระบบวิดีโอ 
คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgcQM_8aanOk6Eor2u97bLtuYo2j_swOyiyVXprj7JfKoE4q5JYBpRmKdc-65Cl7bCXpjrPNXgvTz5nG8N4GtoDuzWmdaPYolKyLkTz12TRhGaHw0nsGslnMvOlY4UkLtCUgA3rUZ5dbPaX/s400/7.1.JPG
แบบต่างๆ แล้วต้องการกำหนดค่าต่างๆ เองก็ทำได้โดยกดที่ปุ่ม
                             3. ที่ช่อง Profile name ก็เลือกไว้ที่ค่า PAL ตามเดิมได้ เพื่อให้ตรงกับระบบของทีวีบ้านเรา
                             4. คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อไปสู่ขั้นตอนถัดไป
                             5. ใน Step 3 คลิกที่ปุ่ม Start เพื่อเริ่มต้นการเข้ารหัสไฟล์แล้วรอจนกว่าจะเสร็จ
                   Produce - Create a Streaming File
                             สำหรับใครที่ต้องการสร้างไฟล์เพื่อเอาไว้สำหรับส่งเป็นไฟล์แนบไปกับ E-mail หรือเอาไปใช้งานในเว็บไซต์ที่มีการโหลดไฟล์  วิดีโอต่างๆ ก็ให้เลือกที่ Create a Streaming File ใน Step 1 แล้วคลิกที่ปุ่ม Next แล้วก็จะมาสู่ขั้นตอนที่สอง ซึ่งจะมีส่วนต่างให้เลือกดังต่อนี้
                             1. เลือกประเภทของไฟล์ที่ต้องการคือ เลือก WMV ต้องการสร้างออกมาเป็นไฟล์วิดีโอตามมาตรฐาน Windows หรือเลือกReal Video ถ้าต้องการสร้างเป็นไฟล์วิดีโอตามมาตรฐาน McIntosh
                             2. ที่ช่องคุณสมบัติของไฟล์ เลือกอัตราบิทเรท (Bit rate) ตามที่ต้องการ Note อัตราบิทเรทจะมีผลต่อความระเอียดของภาพและขนาดของไฟล์คือถ้าบิทเรทต่ำ ภาพก็จะมีความคมชัดต่ำ และไฟล์ก็จะขนาดที่เล็กด้วย
                             3. คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อไปสู่ขั้นตอนที่สามซึ่งมีขั้นตอนการทำงานเหมือนกับที่กล่าวมาก่อนหน้านี้
                    Produce - Make a Disc
                             สุดท้ายนี้คือตัวเลือกหนึ่งที่มีให้เลือกในโหมด Produce คือการสร้างวิดีโอที่เราได้ทำเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้วให้เป็นแผ่นวิดีโอดิสก์สำหรับขั้นตอนนี้นั้นการทำงานส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนของโปรแกรม Power Producer ซึ่งการทำงานต่างๆ นั้นก็ให้ไปดูจากโปรแกรมนี้ส่วนของโปรแกรม Power Director นั้น มีขั้นตอนดังนี้
                             1. ใน Step 1 ของ Produce ให้เลือกที่ Make a Disc แล้วคลิกที่ปุ่ม Next
                             2. ใน Step 2 เลือกว่าจะสร้างออกมาเป็นอะไรในสามอย่าง คือ VCD, DVD หรือว่า
                             3. เลือกระบบของวิดีโอระหว่าง PAL หรือ NTSC และเลือกระดับคุณภาพของวิดีโอที่ช่อง Profile (ควรจะเลือกค่าที่ดีที่สุด)
                             4. คลิกที่ปุ่ม Continue authoring จากนั้นก็จะลิงค์ไปที่โปรแกรม Power Producer เพื่อกำหนดค่าต่างๆ สำหรับการสร้างให้เป็นแผ่นวิดีโอดิสก์ตามที่ต้องการต่อไปสำหรับขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ดูได้จากรูปหน้าถัดไป
เป็นไงกันบ้างครับกับการสร้างโฮมวิดีโอด้วยโปรแกรม Cyber Link Power Director กับประสิทธิภาพการทำงานที่คุ้มค่าเกินตัวสำหรับโปรแกรมที่ให้มาพร้อมกับกล้อง Everio ของ JVC แต่สำหรับใครที่ต้องการประสิทธิภาพที่มากกว่านี้ก็คงต้องพึ่งตัวเองแล้วอาจจะไปดาวน์โหลดเวอร์ชั่นเต็มมาลองใช้แล้วค่อยหาซื้อมาใช้งานกันจริงๆ จริงๆ ในภายหลังก็ได้ซึ่งปัจจุบันนี้โปรแกรม Power Director ก็พัฒนาไปจนถึงเวอร์ชั่น 7กันแล้ว ก็แน่นอนว่าคุณสมบัติอะไรหลายๆ อย่างก็มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นไปกว่าเดิมเยอะทีเดียวแต่ถ้าหากใครที่เห็นว่าโปรแกรมนี้ยังไม่ใช่คำตอบอันนี้ก็คงต้องไปหาโปรแกรมอื่นๆ มาทดลองใช้ดูแต่ที่สำคัญก็คือต้องรองรับไฟล์.MOD ของกล้อง Everio ด้วย สุดท้ายนี้ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกๆ คนคงจะสนุกกับการทำโฮมวิดีโอในวันหยุดพักผ่อนธรรมดาๆ ให้กลายเป็นวิดีโอที่มีสีสันเทียบชั้นงานระดับมืออาชีพเขาเลย

          2.1.4.5 ความสำคัญของโปรแกรม Freemake Video Converter Freemake
                   Video Converter (โปรแกรมแปลงไฟล์วีดีโอ ได้ทุกชนิด) : โปรแกรม Freemake Video  Converter เป็น โปรแกรมแปลงไฟล์วีดีโอ พัฒนาโดยทีมผู้พัฒนาจากเมืองลุงแซม ประเทศสำหรัฐอเมริกา ให้คุณได้แปลงไฟล์วีดีโอ ได้โดยง่ายๆ ซึ่งตัวนี้ออกมาให้ใช้งานฟรี และใช้งานง่าย รองรับไฟล์วีดีโอ ต่างๆ ที่สามารถนำ (Import) เข้ามา มากกว่า 250 รูปแบบ เพื่อใช้ดูวีดีโอบนอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่า 100 อุปกรณ์ อาทิเช่นโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตอย่างไอแพด (iPad) หรือแม้แต่ เครื่องเล่นเกมส์พกพา อย่าง PSP และอื่นๆ อีกมากมาย ในส่วนไฟล์ที่ โปรแกรมนี้สนับสนุนอาทิเช่น
-          ไฟล์วีดีโอ AVI, MP4, MKV, WMV, MPG, 3GP, 3G2, SWF, FLV, TOD, AVCHD, MOV, DV, RM, QT, TS, MTS, และอื่นๆ
-          ไฟล์เสียง MP3, AAC, WMA, WAV
-          ไฟล์รูปภาพ JPG, BMP, PNG,GIF
          โดยการใช้งานนั้น คุณจะสามารถเลือก แปลงไฟล์วีดีโอ ออกมาเป็นไฟล์ (Export) ได้หลากหลายไฟล์ เช่น ทำตัวเป็น โปรแกรมแปลงไฟล์ MP4 แปลงไฟล์ AVI, MKV, FLV, 3GP, MP3 หรือว่าจะแปลงไฟล์วีดีโอเป็นไฟล์ในรูปแบบ HTML5 ที่เปิดได้กับทุกอุปกรณ์ อาทิเช่น บนเครื่องพีซี หรือแม้แต่บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ก็ย่อมได้ ซึ่งไม่ต้องใช้ โปรแกรมแฟลช ช่วยในการเปิด โดย โปรแกรมแปลงไฟล์ ตัวนี้มาพร้อมกับรูปร่างหน้าตาของโปรแกรมแปลงไฟล์วีดีโอ (Interface) ที่ถูกออกแบบมาใช้งานง่ายๆ ปรับแต่งได้ง่าย และที่สำคัญใช้เวลาเรียนรู้ที่สั้นมากๆ โดยข้อความต่างๆ สามารถปรับขนาด หรือเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร (Font) ได้สะดวก อาทิเช่น ซับไตเติ้ล
          นอกจากนี้แล้วมันยังสนับสนุนการอ่านไฟล์แบบ Unicode และ UTF-8 ซึ่งผลลัพธ์คือ จะสามารถอ่านหรือแสดงซับไตเติ้ล ได้จากทุกภาษาทั่วโลก ซึ่งอาจจะมีบางภาษา บางตัวอักษร ที่ไม่สามารถแสดงผลได้ แต่ทางทีมผู้พัฒนาโปรแกรมนี้ได้ดำเนินการรีบแก้ไขอยู่ และออกเวอร์ชั่นอัพเดทอยู่เรื่อยๆ จึงทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในเวอร์ชั่นก่อนๆ จะได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ
โปรแกรมนี้จะสามารถแปลงไฟล์ต่างๆ ลงไปดูบนเครื่อง iPod แปลงไฟล์ลงเครื่อง iPad แปลง ไฟล์วีดีโอลง iPhone หรือสินค้าใดๆ จาก Apple, Android หรือลงแผ่น DVD, แผ่น Blu-ray ลงไฟล์ MP3 หรือ Youtube ก็ได้อีกด้วยละครับ ลองดูครับใช้ง่าย และครบเครื่องจริงๆ
          Note : สำหรับโปรแกรมแปลงไฟล์วีดีโอนี้ ทางผู้พัฒนา โปรแกรม Freemake Video Converter (Program Developer) เขาได้แจกให้ ทุกท่านได้นำไปใช้กันฟรี (FREE) โดยท่าน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ท่านสามารถที่จะติดต่อกับทาง ผู้พัฒนาโปรแกรมนี้ได้ผ่านทางช่องทางอีเมล์ (E-Mail) : support@freemake.com (ภาษาอังกฤษ) ได้ทันทีเลย

          2.1.4.6 ความสำคัญของโปรแกรม VirtualDub
                   การใช้ VirtualDub เบื้องต้น
                             รายละเอียดของหน้าต่าง VirtualDub
                             1.   Stop : หยุดเล่นวิดีโอ
                             2.   Input playback : เล่นวิดีโอต้นฉบับ (Input Video)
                             3.   Output playback : เล่นวิดีโอที่ปรับแต่งแล้ว (Output Video)
                             4.   Start : ไปที่เฟรมแรก
                             5.   Backward : ถอยหลังไป ๑ เฟรม
                             6.   Forward : เดินหน้าไป ๑ เฟรม
                             7.   End : ไปที่เฟรมสุดท้าย
                             8.   Key previous : ย้อนกลับไปที่คีย์เฟรมก่อนหน้า
                             9.   Key Next : เดินหน้าไปที่คีย์เฟรมถัดไป
                             10. Scence reverse : ย้อนกลับไปที่ตำแหน่งสุดท้ายที่มีการเปลี่ยนแปลง
                             11. Scence forward : เดินหน้าไปที่ตำแหน่งสุดท้ายที่มีการเปลี่ยนแปลง
                             12. Mark in : เฟรมแรกที่เลือก
                             13. Mark out : เฟรมสุดท้ายที่เลือก
                             14. Frame indicator : แสดงตำแหน่ง  (เฟรมที่ / เวลา / ชนิดของเฟรม)
                             15. Input video pane : ภาพวิดีโอต้นฉบับ
                             16. Output Video pane : ภาพวิดีโอที่ ตัด/ปรับปรุงแล้ว
                             17. Seeking : หัวเล่นวิดีโอ, เลือกตำแหน่งที่ต้อง การตัดหัว-ท้ายวิดีโอและใส่ฟิลเตอร์ปรับปรุงคุณภาพ

                    ขั้นตอนการปฏิบัติ
                   1. เปิดโปรแกรม VirtualDub ขึ้นมา
                   2. กำหนดความเร็วของวิดีโอ (fps) ที่ต้องการในวิดีโอที่จะนำไปใช้งาน (output video) โดยไปที่ เมนู Video > Frame Rate หน้า Video Frame Rate Control จะปรากฎขึ้นมา ใส่ค่าที่ต้องการ
ตัวอย่างนี้ ต้องการเปลี่ยนเฉพาะค่า  fps ของวิดีโอที่จะใช้จากเดิม 25.000 fps ให้เป็น 15.000 fps
                   3. แล้วคลิ้ก-ลาก คลิ้ปวิดีโอที่ต้องการไปใส่ในหน้าต่างของ VirtualDub หรือจะใช้คำสั่งจาก เมนู File > Open Video File ตามปกติก็ได้
                   4. ลาก หัวเล่น หาตำแหน่งส่วนหัวคลิ้ปที่ต้องการตัดทิ้ง
                   5. เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการ ให้ คลิ้กที่ Mark out (เฟรมสุดท้ายที่เลือก)
                   6. กดแป้น Delete เพื่อทิ้งส่วนที่เลือกไว้ทิ้งไป
                   7. ลาก หัวเล่น หาตำแหน่งส่วนท้ายคลิ้ปที่ต้องการตัดทิ้ง
                   8. เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการ ให้ คลิ้กที่ Mark in (เฟรมแรกที่เลือก)
                   9. ลาก หัวเล่นไปที่เฟรมสุดท้ายของคลิ้ป แล้วคลิ้กที่ Mark out (เฟรมสุดท้ายที่เลือก)
(หรือคลิ้กที่ End เลยก็ได้ แล้วคลิ้กที่ Mark out)
                   10. กดแป้น Delete เพื่อทิ้งส่วนที่เลือกไว้ทิ้งไป
                  
          ใช้ฟิลเตอร์ปรับปรุงคุณภาพ
                   11. ไปที่เมนู Video > Filters...  เพื่อเปิดหน้าต่างฟิลเตอร์ขึ้นมา
                   12. ในหน้าต่างฟิลเตอร์ คลิ้กปุ่ม  Add...  คลิ้กเลือกฟิลเตอร์ที่ต้องการใช้  แล้วคลิ้ก OK
                   13. หากต้องการเพิ่มฟิลเตอร์ตัวอื่นๆอีก  ให้คลิ้กที่ปุ่ม  Add...  อีก
                   14. คลิ้กเลือกฟิลเตอร์ที่ต้องการเพิ่ม  แล้วคลิ้ก OK
                   หมายเหตุ  1
                             A. ถ้าเป็นฟิล์เตอร์ที่เป็นค่ากำหนดตายตัว ก็จะมีค่าต่างๆให้เราเลือก เมื่อเลือกแล้วก็คลิ้ก  OK
                             B. ถ้าเป็นฟิลเตอร์ที่มีค่าให้เราปรับแต่ง ก็จะมีปุ่ม  Show preview  ให้คลิ้กที่ปุ่ม  Show preview เพื่อเปิดหน้าต่างวิดีโอขึ้นมา  แล้วเราก็ปรับค่าต่างๆ ตามที่ต้องการโดยดูผลที่จะะออกมาจาก หน้าต่าง  Show preview  นี้  เมื่อได้ค่าตามต้องการแล้ว ก็คลิ้ก  OK
                             C. โปรแกรมจะปิดหน้าต่างค่าฟิลเตอร์ตัวนั้น พร้อมกับหน้าต่าง Show preview ไป
                   15. ในหน้าต่างฟิลเตอร์  คลิ้ก OK  โปรแกรมจะกลับมาที่หน้าต่างหลักของโปรแกรม
โดยภาพใน  Output Video pane จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าต่างๆที่เราปรับ
                   16. หากต้องการแก้ไข ให้ไปที่เมนู Video > Filters...  เพื่อเปิดหน้าต่างฟิลเตอร์ขึ้นมา
                   17. ในหน้าต่างฟิลเตอร์ คลิ้กเลือกฟิลเตอร์ตัวที่ต้องการแก้ไข  แล้วคลิ้ก ปุ่ม  Configure...
                   18. ปรับแก้ค่าใหม่ตามที่ต้องการ (ตามขั้นตอน A, B, C ในหมายเหตุ)
                   19. เมื่อได้ภาพใน  Output Video pane ตามที่ต้องการแล้ว ให้ไปที่เมนู File > Save as AVI... สำหรับนำไปใช้งานต่อไป  เช่น นำไปแปลงจาก .avi  ให้เป็น  .flv  เป็นต้น
                   หมายเหตุ 2
                             ฟิลเตอร์รวมถึงค่าต่างนั้น จะต้องค้นคว้า ศีกษา ทดลอง และทำความเข้าใจด้วยตัวเองไปก่อน เนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการรวบรวม, เรียบเรียง, และอธิบายรายละเอียดต่างๆมากพอควร

          2.1.4.7 ความสำคัญของโปรแกรม Sony Vegas Pro 13
                   Sony Vegas Pro 13 (โหลดโปรแกรม Sony Vegas) : โปรแกรมนี้ชื่อว่า โซนี่เวกัส (Sony Vegas) โปรแกรมจากค่ายโซนี่ เป็นอีกหนึ่ง โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ และเสียงที่มีคุณภาพสูง ที่มืออาชีพเค้าใช้กัน โปรแกรมนี้สามารถ สร้างสรรค์ งานของคุณได้อย่างอิสระ แต่ผลงานออกมาอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการรวมไฟล์วีดีโอเข้าด้วยกัน การตัดไฟล์ที่ไม่ต้องการ หรือใส่ลูกเล่นหรือเอฟเฟค ที่ต้องการ โดยหากคุณ โหลด Sony Vegas ไปจะมีลูกเล่นให้เลือกใช้ เลือกช้อปกันมากกว่า 1,000 รูปแบบด้วยกัน โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ นี้ยังสนับสนุนแผ่นวีซีดี (VCD) หรือ แผ่นดีวีดี (DVD) และยังรวมไปถึงแผ่นที่ใช้เทคโนโลยีตัวให่ล่าสุดอย่าง แผ่น Blu-ray เป็นต้น แล้วรับรองว่าโปรแกรมนี้จะไม่ทำให้งานตัดต่อวีดีโอ ของคุณผิดหวังอย่างแน่นอน นอกจากนี้แล้วมันยัง เหมาะสำหรับเอาไว้ทำการนำเสนองาน งานแต่งงาน (Wedding Presentation) งานขายโฆษณาสินค้า ประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ รวมไปถึง งานนำเสนอบนงานอีเว้นต์ ต่างๆ อย่างมืออาชีพมากๆ Program Features (คุณสมบัติและความสามารถของ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas อย่างละเอียด)
-          รองรับ และ สามารถใช้ตัดต่อไฟล์วีดีโอ ในหลากหลายระดับ ตั้งแต่แบบ SD HD 2K และสูงสุดอย่าง 4K (4096 x 4096 พิกเซล) ก็ยังใช้งานได้
-          ใช้งานง่าย เรียนรู้เร็ว ใช้หลักการแบบลากแล้ววาง (Drag-and-Drop)
-          มีปลั๊กอินเสริม ลูกเล่นต่างๆ ให้เลือกเล่นมากมาย
-          สนับสนุนไฟล์วีดีโอในหลากหลายตระกูล จากกล้องถ่ายวีดีโอที่หลากหลายยี่ห้อ และ หลายรุ่น
-          มีระบบ "FX Masking" เพื่อเบลอภาพใบหน้าคนในวีดีโอออก หากไม่ต้องการให้เห็นหน้าผู้เสียหาย หรือ ใบหน้าของคนในวีดีโอบางคน โดยไม่ต้องไปทำทีละเฟรม ทั้งนี้รวมไปถึงพวกโลโก้ ทะเบียนรถ และวัตถุอื่นๆ ที่ไม่ต้องการให้เห็นได้อีกด้วย
-          มีระบบการปรับสมดุลของสี (Color Match) ต่างๆ ที่อยู่ในวีดีโอ
-          สนับสนุนภาพทั้งแบบ 2 มิติ และ แบบ 3 มิติ
-          มีระบบการตัดต่อเสียง ปรับแต่งเสียงที่ทันสมัย และ ตอบสนองทุกย่านความถี่ของเสียง พร้อมกับซาวด์เอฟเฟคให้เลือกมากมาย
-          มีมาตรวัดระดับความดังของเสียง (Loudness Meter)
-          สามารถสร้างวีดีโอลงแผ่นดีวีดี (DVD) หรือ แผ่นบลูเรย์ (Blu-ray) ที่สมบูรณ์แบบได้ ทั้งการใส่ธีม ภาพพื้นหลัง รวมไปถึงสร้างเมนูในแผ่น ที่มีเท็มเพลตสำเร็จรูปให้เลือกมากกว่า 30 เมนู ใส่เสียงประกอบเข้าไปได้ พร้อมระบบพรีวิว ดูตัวอย่างก่อนนำไปใช้งานจริง
-          และความสามารถอื่นๆ อีกมากมาย
          Advantage (ข้อดีของการใช้งาน โปรแกรม Sony Vegas
                   จุดเด่น
              -  เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่สามารถใช้งานได้ง่าย (แต่ต้องมีความรู้ด้านการตัดต่อวีดีโออยู่บ้าง)
              มีเอกสาร คำแนะนำ และสอนวิธีการใช้งานมากมาย ทั้งที่ติดมากับโปรแกรม และบนอินเทอร์เน็ตทั่วไป
                   นำเสนอผลงานให้ออกมาดูมืออาชีพมากๆ
                   สนับสนุนวีดีโอ ระดับความคมชัดแบบสูงสุด (HD)
                   เป็นโปรแกรมที่คุณสามารถหาซื้อได้ในราคาสมเหตุสมผล
                   ผู้ใช้งานค่อนข้างมาก สามารถสอบถามปัญหา และเปลี่ยนความคิดได้ที่เว็บบอร์ดจากผู้ใช้ทั่วโลกได้
                   จุดด้อย
                   -  โปรแกรมมีขนาดใหญ่
                   กินทรัพยากรเครื่องค่อนข้างมาก
                   ผู้ใช้งานควรจะมีความรู้ด้านการตัดต่อวีดีโออยู่บ้าง เพื่อการเริ่มต้นใช้งาน และ การเรียนรู้ที่รวดเร็ว
          System Requirements (ความต้องการของระบบ) : เนื่องจากโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ต้องการทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นกรุณาอ่านรายละเอียดด้านล่างนี้ก่อนการตัดสินใจดาวน์โหลด เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา โหลดไปแล้วใช้ไม่ได้
-          ในเวอร์ชั่น Pro 13 นี้ จะไม่สามารถใช้ได้กับ ระบบปฏิบัติการ Windows แบบ 32 Bits (x86) ได้อีกแล้ว จะใช้ได้กับแบบ 64 Bits (x64) และ บน Windows Vista หรือ Windows Seven (7) เท่านั้น
-          ก่อนการติดตั้ง คุณจะต้องทำการติดตั้ง Microsoft .NET Framework รุ่น 3.5 รุ่นทเทียบเท่า หรือ สูงกว่าด้วย มิเช่นนั้นจะไม่สามารถใช้งานโปรแกรมนี้ได้
-          ความเร็วของหน่วยประมวลผลหลัก (CPU) 2 GB. (ขั้นต่ำ)
-          ขนาดพื้นที่ที่ใช้การติดตั้ง 500 MB. (ขั้นต่ำ)
-          หน่วยความจำ (RAM) ขั้นต่ำ 4 GB. (แนะนำ 8 GB.)
-          การ์ดจอ หรือ การ์ดแสดงผลกราฟฟิค คุณภาพสูง แนะนำ NVIDIA / AMD/ATI หรือ Intel
          Note : โปรแกรมนี้ มีคุณสมบัติเป็นแชร์แวร์ (Shareware) ซึ่งทางผู้พัฒนา โปรแกรม (Program Developer) เขาได้ท่านได้นำไปใช้กันก่อน 30 วัน หาก ถ้าท่านต้องการจะใช้ต่อกันในแบบ ตัวเต็มๆ (Full Version) หรือ แบบไม่มี การจำกัดเวลา (No Time Limit) ละก็ ท่านจะต้อง เสียค่าลงทะเบียน (Register) ผ่านทางเว็บไซต์ผู้พัฒนาได้เลยทันที

          2.1.4.8 ความสำคัญของโปรแกรม Corel VideoStudio Pro X7
                   Corel VideoStudio Pro X7 เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่ใช้งานไม่ยากจนเกินไปแม้ผู้ที่เริ่มใช้งานก็สามารถที่จะสร้างวีดีโอได้เหมือนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตัดต่อวีดีโอมานานโปรแกรมนี้มีเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับตัดต่อวีดีโออย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่จับภาพจากกล้องเข้าคอมพิวเตอร์ ตัดต่อวีดีโอ ใส่ Effect ต่าง ๆ แทรกดนตรีประกอบ แทรกคาบรรยาย ไปจนถึงบันทึกวีดีโอที่ตัดต่อกลับลง VCD DVD หรือแม้กระทั่งเผยแพร่ผลงานทางเว็บ
          1. การติดตั้งโปรแกรม Corel VideoStudio Pro X7                    
                   1) ดับเบิลคลิกที่ปุ่ม  Setup  Program 
                   2) คลิกปุ่ม  คำอธิบาย: http://www.krukittinankwc.org/home/images/lesson/chapter_1/000002.png 
                             3) เลือกที่เก็บไฟล์ จากนั้นคลิกปุ่ม คำอธิบาย: http://www.krukittinankwc.org/home/images/lesson/chapter_1/0027.png
                   4) คลิกปุ่ม คำอธิบาย: http://www.krukittinankwc.org/home/images/lesson/chapter_1/00000027.png 
                    5) โปรแกรมทำการบันทึกไฟล์
                   6) โปรแกรมกำลังกำเนินการติดตั้ง
                   7) คลิกปุ่ม  คำอธิบาย: http://www.krukittinankwc.org/home/images/lesson/chapter_1/07.png เพื่อยอมรับเงื่อนไขการติดตั้ง
                   8) คลิกปุ่ม  คำอธิบาย: http://www.krukittinankwc.org/home/images/lesson/chapter_1/000009.png 
                             9) เลือกประเทศที่ติดตั้ง
                   10) เลือกระบบการแสดงผลภาพวีดีโอ (ประเทศไทยนิยมใช้ระบบ  Pal)
                   11) เลือกพื้นที่ที่ใช้ในการจัดเก็บ
                   12) คลิกปุ่ม Install Now
                             13) คลิกเลือก ติดตั้ง/ไม่ติดตั้ง โปรแกรมเสริม ดังรูป 8
                   14) คลิกปุ่ม คำอธิบาย: http://www.krukittinankwc.org/home/images/lesson/chapter_1/00000012.pngดังรูป 8
                   15)โปรแกรมกำลังดำเนินการติดตั้ง ดังรูป 9
                   16) คลิกที่ปุ่ม Finish (สิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม) ดังรูป 10
          2. ส่วนประกอบต่าง ๆ ใน Corel VideoStudio Pro X7
                             1) เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Corel VideoStudio Pro X7 จะเข้าสู่หน้าจอ ประกอบด้วย
                                      1. Preview  window             :         สำหรับแสดงผล
                             2. Library                           :         แถบเครื่องมือหลักที่ใช้ในการตัดต่อ
                                      3. Timeline                         :         เรียบเรียง / ตัดต่อวีดีโอคลิป
         เราสามารถเคลื่อนย้ายพื้นที่การทำงานบน  Work  space  โดยดับเบิลคลิกและคลิกปุ่มซ้ายค้างไว้และย้ายไปยังตำแหน่งได้ตามต้องการ
                   2.1 Edit Step :  หน้าต่างสำหรับตัดต่อ
                                      เป็นส่วนที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอ ซึ่งเราสามารถตัดต่อ แก้ไข ใส่เทคนิคพิเศษ เพิ่มดนตรี เชื่อมต่อคลิปวิดีโอด้วยฉากต่างๆ ได้ตามที่เราต้องการ ซึ่งเราจะเรียนรู้ในเรื่องต่อไป
                             รายละเอียดในส่วนของ Edit Step ประกอบด้วยดังรูป 20 ต่อไปนี้
                                      1) Preview Window         :  หน้าต่างทำหน้าที่แสดงภาพ
                                      2) Step panel                 :  ส่วนเลือกการทำงานกับไฟล์วีดีโอ
                                      3) Menu Bar                   :  เลือกคำสั่งต่างๆ
                                      4) Media Library              :   คลังภาพและเสียง
                                      5) Storyboard Timeline    :  หน้าต่างเรียบเรียงตัดต่อคลิปวิดีโอ
                                      6) Tool Bar                     :  ปุ่มเส้นทางลัดคำสั่งต่าง ๆ
                                      7) Library Panel               :  แถบเครื่องมือหลักช่วยในการตัดต่อ
                                      8) Option Panel               :  ส่วนรวบรวมคำสั่งหลักสำหรับตัดต่อวิดีโอ
                    2.2 Step Panel :  ส่วนเลือกการทำงานกับไฟล์วิดีโอตามลำดับ gป็นส่วนการทำงานหลักของโปรแกรม Corel video studio ซึ่งจะลำดับการสร้างแก้ไข ได้แก่ การจับภาพ (capture) การตัดต่อ (edit) และการแปลงไฟล์ที่ทำเสร็จแล้ว (Share)
                             2.2.1 แท็บ Capture :  นำภาพวีดีโอจากแหล่งอื่น เป็นการนำเข้าภาพวีดีโอ  จากแหล่งอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น  จากกล้องวีดีโอ  โทรศัพท์มือถือ  จากแผ่นซีดี  ดีวีดี  กล้องเว็บแคม
                                      2.2.2 แท็บ Edit : เรียบเรียง / ตัดต่อวีดีโอ เป็นการแก้ไข ปรับแต่ง ในการตัดต่อวีดีโอ ซึ่งเป็นส่วนหลักการทำงาน     
                              2.2.3 แท็บ Share :  แปลงไฟล์วีดีโอนำไปใช้งาน  เป็นการบันทึกไฟล์  แปลไฟล์  เพื่อนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น  การบันทึกไฟล์ลงแผ่น  ดีวีดี  บนเว็บไซด์  Youtube  เป็นต้น
                             2.3  Library Panel :  แถบเครื่องมือสำหรับตัดต่อ  เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการตัดต่อ แก้ไข เช่น การใส่เอฟเฟ็กต์ ข้อความ ภาพ เสียง คลิปวีดีโอ เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
                                      2.3.1 แท็บ Media :  สำหรับเก็บไฟล์ภาพและวีดีโอ เพื่อรอการตัดต่อ สำหรับ Media เป็น Library ที่ใช้สำหรับเก็บรูปภาพ วีดีโอ เสียง ที่ใช้ในการตัดต่อ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งไหนก็ตาม การนำไฟล์เข้าสู่  Library  โดยคลิกปุ่ม คำอธิบาย: http://www.krukittinankwc.org/home/images/lesson/chapter_1/open.png  หลังจากนั้นไฟล์ก็จะแสดงไว้ในส่วนของ Library ถ้าต้องการจัดเรียง แสดง วิธีต่าง ๆ ก็ให้คลิกปุ่ม คำอธิบาย: http://www.krukittinankwc.org/home/images/lesson/chapter_1/2-3-1.png 
                                       2.3.2 แท็บ Instant Project  :  วีดีโอสำเร็จรูป สำหรับรวมวีดีโอแบบสำเร็จรูปต่าง ๆ มากมาย  แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ได้แก่  beginning , middle , ending , Complete , custom , general Beginning  
                                                2.3.3 แท็บ transition :  รูปแบบในการเปลี่ยนฉากเป็นส่วนของการใส่ลูกเล่นการเปลี่ยนฉาก                                                                  
                                      2.3.4 แท็บ Title :  รูปแบบข้อความเป็นส่วนของการใส่ลูกเล่นข้อความแบบต่าง ๆ สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมได้
                                      2.3.5 แท็บ Graphic :  สำหรับสร้างพื้นหลังสี ใส่เฟรม วัตถุ สามารถเพิ่มเติมได้ เป็นส่วนสำหรับสร้างพื้นหลังสี ใส่เฟรม วัตถุ สามารถใส่เพิ่มเติมได้ ภาพจากแหล่งต่าง ๆ เช่นภาพถ่าย ภาพที่สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งประกอบด้วยรายการคำสั่ง
                                      2.3.6 แท็บ Filter  :  สำหรับใส่ Effect ให้กับงาน  เป็นส่วนสำหรับสร้างความแปลกตาและน่าสนใจ  มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ  สามารถนำมาผสมผสานได้ตามความต้องการ
                   2.4  Preview window :  หน้าต่างแสดงผล
                   Preview Window เป็นเหมือนหน้าจอแสดงผลในส่วนของประเภทที่เรากำลังตัดต่ออยู่เช่น ภาพคลิปวีดีโอ เสียง ข้อความ หรือ effect ต่าง ๆ ซึ่งหน้าต่าง Preview Window สามารถควบคุมการทำงานได้ทุกอย่างเหมือนโปรแกรมเล่นไฟล์ภาพ วีดีโอ หรือเสียง
                   2.5. Option Panel  :  หน้าต่างรวบรวมคำสั่งต่าง ๆ
                  Option Panel เป็นหน้าต่างสำหรับรวมการใช้คำสั่งชนิดต่าง ๆ ในการตัดต่อวีดีโอ  โดยมีการแบ่งเป็นหมวดหมู่ ขึ้นอยู่กับเราจะปรับ แก้ไข ตกแต่ง กับงานประเภทใด เช่น ถ้าเราปรับแต่งเกี่ยวกับคลิปวีดีโอ Option Panel ก็จะทำงานในส่วนของการจัดการเกี่ยวกับการตัดต่อวีดีโอ
                   2.6 Storyboard and Timeline :  หน้าต่างตัดต่อวีดีโอ
                             Storyboard and timeline หน้าต่างสำหรับเรียบเรียง/ตัดต่อวีดีโอ แบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่
                                      -  Storyboard  :   เหมาะกับผู้เริ่มต้นกับงานตัดต่อวีดีโอ  แต่มีข้อจำกัด
                                                -  Timeline  :  เหมาะกับผู้เริ่มชำนาญการใช้โปรแกรม  สามารถใส่ลูกเล่นได้หลากหลาย  เช่น  การปรับแต่งภาพนิ่ง  วีดีโอ  และเสียง  เป็นต้น ดังรูป 49
         
          2.1.4.9 ความสำคัญของโปรแกรม VSDC Free Video Editor
                   การตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน นับว่ามีความน่าสนใจและง่ายต่อการทำงานหรือลองตัดต่อมากกว่าอดีตมากๆ เนื่องจากความเร็วและความจุของคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน มีความสามารถที่เพียงพอในการตัดต่อแก้ไขวิดีโอเพื่อความบันเทิงส่วนตัว หรือการค้า การลงทุน ฯลฯ
นอกจากนั้น การถ่ายคลิปและภาพนิ่งจากกล้องมือถือ ก็มีจำนวนมาก ที่ง่ายต่อการถ่ายและการถ่ายโอนลงคอมพิวเตอร์เพื่อการตัดต่อ หรือทำให้น่าสนใจมากขึ้น แบบว่าไม่ลำบากในการมีเดียหรือสื่อที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการตัดต่อ นั้นเอง
                   ว่ากันโดยโปรแกรมตัดต่อวิดีโอบนคอมพิวเตอร์ที่เป็นแบบมือโปรแบบค่ายหนังหรือบริษัท ที่รับทำงานตัดต่อเป็นอาชีพ โปรแกรมดังๆ ที่มีค่าโปรแกรมเป็น 1000$ อย่างเช่น Adobe Premiere ถือเป็นโปรแกรมสุดยอดในการทำงานด้านการตัดต่อระดับโปร หรือมืออาชีพนั้นเอง
ส่วนใครที่สนใจหรือเป็นมือใหม่ที่ต้องการศึกษา หรือต้องการทดลองตัดต่อคลิปหรือมีเดียต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อเป็นพื้นฐานข้อมูลในการตัดต่อขั้นสูงต่อไปในอนาคต การเริ่มต้นจากฟรีแวร์ที่ให้ใช้งานฟรีก่อน ในการตัดต่อวิดีโอ ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และนำมาแนะนำกันในวันนี้ คือ ตัดต่อวิดีโอฟรีด้วย VSDC Video Editing
          พื้นฐานการทำงานของโปรแกรม
                             1. เริ่มจากการดาวโหลดโปรแกรม 
VSDC Free Video Editor  และ set up ลงโปรแกรมให้เสร็จเรียบร้อย  จากนั้นเปิดโปรแกรมขึ้นมา
                             2. บนหน้าต่างของโปรแกรม ให้คลิกเลือก New Project จากนั้นเลือกความละเอียดและ Frame rate จากนั้นเลือก นำเข้าภาพนิ่งและวิดีโอ Import Video and images  สุดท้ายคลิกที่ปุ่ม Finish
                             3. คลิกนำเข้าภาพและคลิปวิดีโอที่เราต้องการนำเข้ามาตัดต่อและใช้งาน และลากวางคลิปหรือภาพลงในแทรกของวิดีโอ
                             4. แทรก Transitions หรือตัวเปลี่ยนภาพนิ่ง เลือกจาก effects และ ลากมาวางระหว่างคลิปหรือภาพบนแทรกของวิดีโอได้ทันที
                             5. แต่ละแทรก track ของไฟล์คลิปวิดีโอที่เราแทรกหรือวางลงไปใน time line การทำงานของโปรแกรมนั้น เราสามารถคลิกที่แต่ละคลิปเพื่อเข้าไปกำหนดค่าการทำงานของแต่ละคลิป Properties  รวมทั้งการตัดบางส่วนของคลิปที่อาจจะยาวไป หรือไม่จำเป็นในการนำมาใช้งาน โดยให้เลื่อนเม้าส์หาคำสั่ง Cutting and splitting ซึ่งจะได้หน้าต่างการทำงานเพื่อลากเม้าส์กำหนดจุดเริ่มต้นที่ต้องการ และจุดสุดท้ายที่ต้องการนำมาใช้งาน และจึง cut หรือตัดบางส่วนที่ไม่ต้องการออกไป
                             6. หลังจากเราตัดแล้ว ความยาวอาจจะหายไปให้เราแดรกเม้าส์เลื่อนคลิปเข้ามาให้ต่อกัน joining
                             7. ระหว่างการทำงานของแต่ละ Project จะมี Preview ให้เราสามารถคลิกเพื่อดูผลการทำงานการตัดต่อวิดีโอที่เรากำลังตัดต่ออยู่ได้ ว่าเป็นไปตามต้องการของเราหรือเปล่า
                             8. การ save หรือการบันทึก project ของเราไว้ดูบนคอมพิวเตอร์ หรือแปลงเป็น format อื่นๆ เพื่อสะดวกหรือตรงกับเครื่องเล่นที่เรามีอยู่ หรือต้องการนำไปเล่น ต่อไป
          Note:  นอกจากความสามารถพื้นฐานการตัดต่อที่สำคัญ ในการทำงาน ได้แก่ การตัดต่อคลิปวิดีโอ การใส่ตัวเปลี่ยนภาพนิ่งหรือ Transition การ join หรือการรวมคลิปเข้าด้วยกัน โปรแกรมยังมีความสามารถที่น่าสนใจในการทำงานเกี่ยวกับ การแทรก Text หรือข้อความ Title ชื่อเรื่องวิดีโอ การแทรกเสียงประกอบ หรือดนตรีประกอบ หรือการแทรกเสียงบรรยาย เป็นต้น

          2.1.4.10 ความสำคัญของโปรแกรม Free Video Dub
                    โปรแกรม Free Video Dub เป็นอีกโปรแกรมย่อยที่อยู่ใน โปรแกรมใหญ่ DVDVideoSoft เพราะทั้งโปรแกรมเค้าเล่น pack โปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ให้ใช้งานถึง 48 โปรแกรม ซึ่งดิฉันเองเคยนำมาเขียนบทความไปหลายบทความ  เพราะใช้งานผลิตภัณฑ์เค้าอยู่  นอกจากฟรีแวร์แล้ว ยังมีให้เลือกหลากหลาย  จึงเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ยังคงมีติดไว้ในเครื่องเสมอ  เช่นนำมา Download จาก Youtube เป็น mp3 ทั้ง Playlists ,นำมาแปลงไฟล์ Video เป็นรูปภาพ Jpgและอื่่น ๆอีกมากมาย วันนี้จึงหยิบอีกหนึ่งโปรแกรมย่อยที่อยู่ใน DVDVideo soft มาเล่าต่อ  ก็คือโปรแกรม Free Video Dub ใช้สำหรับการตัดต่อวีดีโอ สำหรับมือใหม่หัดเรียนรู้การใช้งานโปแกรมสำหรับตัดวีดีโอค่ะ   ตัดได้ง่ายๆจริง ๆค่ะ ตามมาดูวิธีการใช้งานโปรแกรม Free Video Dub สำหรับตัดวีดีโอแบบง่าย ๆ กันค่ะ
                   1. หลังดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม เสร็จเรียบร้อย  คลิ๊กที่ Start > All Programs > DVDVideoSoft > Programs > Free Video Dub หรือดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไอคอน  DVDVideoSoft Free Studio
                   2. คลิ๊กที่ด้านซ้าย “ ……” Input file : เพื่อเพิ่มไฟล์วีดีโอที่ต้องการนำมาตัดจากคอมพิวเตอร์  วีดีโอที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรม Free video Dub เพื่อใช้ในการตัดต่อคือโปรแกรมนามสกุล *.avi, *.mpg, *.mp4, *.mkv, *.flv, *.3gp, *.webm, *.wmv.
                   3. คลิ๊กที่  "..."  ที่อยู่ด้านขวา Output file :  เลือกโฟลเดอร์สำหรับจัดเก็บไฟล์วีดีโอที่ตัดเสร็จแล้ว  ซึ่งเป็นโฟลเดอร์ที่เราต้องการบันทึกไว้
                   4. เริ่มทำการตัดต่อที่เมนุแถบล่างของโปรแกรม  จะมีไอคอนเป็นกรรไกรอยู่ ซ้ายและขวา   ให้เลื่อนเคอร์เซอร์ ลากบริเวณที่ต้องการตัดออก  ต่อจากนั้นคลิ๊กที่กรรไกรด้านซ้ายเพื่อเลือกส่วนที่ตั้องการตัดออก ด้านซ้ายออกไป  คลิีกไอคอนกรรไกรด้านขวา เมื่อต้องการเลือกส่วนที่ต้องการตัดออกในด้านขวา   ต่อจากนั้นกดไอคอน กากกบาท เพื่อทำการลบส่วนที่ไม่ต้องการออก   เหลือไว้เฉพาะบริเวณในแถบสีีฟ้า  นั่นคือส่วนที่ต้องการใช้งาน
                   5. หากตัดส่วนที่ไม่ต้องการผิดพลาด สามารถแก้ไขได้ที่ไอคอน Undo และ Redo คลิีก Play เพื่อทดสอบเล่นวีดีโอว่าได้ส่วนที่ต้องการหรือยัง  หากตัดวีดีโอได้ตามต้องการ คลิ๊กที่ save video เป็นอันเสร้จสิ้นกระบวนการตัดวีดีโอแบบง่าย ๆ ด้วยโปรแกรมฟรีแวร์ Free Video Dub   เรียบร้อยแล้วค่ะ

          2.1.4.11 ความสำคัญของโปรแกรม Adobe Premiere Pro
                   ลักษณะของโปรแกรม การตัดต่อวิดีโอ Adobe Premiere Pro เป็นซอฟแวร์โปรแกรมที่ใช้ในงานตัดต่อวิดีโอและบันทึกตัดต่อเสียงที่แพร่หลายที่สุด สามารถผลิตผลงานได้ในระดับมืออาชีพ จนถึงการนำไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ (Broadcasting System ) มีการทำงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก สามารถจับภาพและเสียงมาวาง (Drag & Drop)ลงบนไทม์ไลน์ (Time line) เคลื่อนย้ายได้อิสระโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่มีการสูญเสียของสัญญาณภาพและเสียง เพียงผู้ผลิตรายการ ต้องมีทักษะที่ดีในการใช้โปรแกรมกับความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น
                   Adobe Permiere Pro เป็นโปรแกรม ที่ใช้ตัดต่อภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็น รวมไปถึงวิดีโอ แม้กระทั่งการทำงาน เกี่ยวกับเสียง ข้อความ หรือหากมีข้อมูลรูปภาพจากกล้อง ดิจิตอลอยู่แล้ว ก็สามารถนำภาพที่ได้ถ่ายไว้มาตัดต่อ เพื่อสร้างเป็นภาพยนตร์สำหรับส่วนตัวได้  ความสามารถในการปรับและตรวจสอบค่าสี โทนสี ความสว่างและแสงเงา ของไฟล์วีดิโอได้มากขึ้น โดยสามารถแทนที่ค่าสีแล้วเปรียบเทียบกับไฟล์เดิมได้ในหน้าต่างเดียวกัน และยังสามารถตัดต่อเกี่ยวกับระบบเสียงได้มากขึ้นAdobe Premiere Pro เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างเอ็ฟเฟ็ครูปแบบต่าง ๆให้กับเสียง อีกทั้งยังเพิ่มการปรับแต่งเสียง ในระบบ 5.1 Channel นอกจากนั้นยังสามารถสร้างเสียงคุณภาพสูงได้ด้วย Audio Mixer สนับสนุนการทำงานบนมาตรฐานอุตสาหกรรมอื่น ๆAdobe Premiere Pro สามารถผลิตงานคุณภาพสูงได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างไฟล์คุณภาพ เช่น MPEG2 หรือแปลงไฟล์ให้ได้รูปแบบสื่อวีดิโอที่หลากหลาย คุณสมบัติต่างๆ
                   การทำงานแบบ Real-Time Adobe Premiere Pro ได้เพิ่มความสามารถในการตัดต่อแบบReal-Time กล่าวคือ สามารถตัดต่อ ตกแต่งและดูผลงานที่สร้าง ได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องทำการRender ก่อน ไม่ว่าจะใส่ Transition การทำ Motion Path หรือการทำเอ็ฟเฟ็คต่างๆ ก็ตามเราสามารถดูผลการปรับแต่งได้ที่หน้าจอแสดงผลควบคู่กับการตัดต่อพร้อมกันได้ และสามารถทำงานได้หลายซีเควนส์บนหน้าต่าง Timeline เดียว Adobe Premiere Pro เปิดโอกาสให้เราตัดต่องานที่ซับซ้อนได้มากขึ้น โดยสามารถเพิ่มซีเควนส์ และยังทำงานได้อย่างไม่จำกัดบนหน้าต่าง Timeline เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบรูปแบบของงานตัดต่อแต่ละชิ้นงานได้ทันที โดยไม่ต้องสร้างโปรเจ็กต์ใหม่หรือเปิดโปรเจ็กต์อื่น ๆขึ้นมาให้ยุ่งยาก  มีระบบปรับแต่งสีสันของโฟล์วิดีโออย่างมือโปร Adobe Premiere Pro ขยายเช่น การแปลงไฟล์ ให้ได้รูปแบบสื่อวีดิโอที่หลากหลาย เช่น การแปลงไฟล์เป็นDV,DVD,CD,VCD,SVCD เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถทำงานกับไฟล์ภาพนิ่งและภาพต่อเนื่อง ได้ เช่น TIFF , TIFF Sequence, PCX,Al Sequence เป็นต้น
          การสร้างชิ้นงานและการตั้งค่าชิ้นงานโปรแกรม Premiere Pro
                   คลิกที่ Start Program เลือกที่ All Program Adobe Premiere Pro 2.0 
                   จากนั้นเราจะพบกับหน้าต่าง Welcome to Adobe Premiere Pro 2.0
                   New Project เป็นการเริ่มสร้างชิ้นงานใหม่ โดยเมื่อเราเริ่มทำงานเริ่มแรก เรายังไม่มีชิ้นงานที่เคยทำ ให้เราเลือกข้อนี้
                   Open Project คือการเปิดชิ้นงานที่เราเคยเซฟไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถเลือกข้อนี้ได้ 
                   Recent Project คือ ชิ้นงานที่เราเคยเปิดมาแล้ว เคยทำผ่านมาแล้ว รายชื่อชิ้นงานเราจะปรากฏที่นี่ เราสามารถคลิกเพื่อเข้าอย่างรวดเร็วได้
                   กรณีนี้ยังไม่มีชิ้นงานให้เราเลือกที่New Project เพื่อทำการสร้างโปรเจ็คใหม่แล้วจะเข้ามาสู้หน้าจอถัดไปดังรูป
                   คลิกที่ Browse เพื่อทำการเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการสร้างชิ้นงาน ดังรูป
                   เมื่อสร้างโฟลเดอร์ที่ต้องการแล้ว ให้เราตั้งชื่อชิ้นงานที่เราต้องการสร้าง
                   เมื่อเราสร้างชื่อเราเสร็จแล้วให้เราตั้งค่าความชัดของวีดีโอที่เราจะทำว่าจะมีความชัดยัง  หลังจากที่ได้ทำการตั้งชื่อไฟล์เรียบร้อยแล้วก็จะเข้าสู่หน้าจอการทำงานของเราต่อไป โดยที่หน้าจอของเราจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
                             ส่วนแรก คือ ส่วนทีใช้ในการแสดงไฟล์วีดีโอต่างๆ ที่เราทำการ Import เข้ามา เพื่อใช้ในการตัดต่อ
                             ส่วนที่สองคือ หน้าจอ Monitor
                             ส่วนที่สามคือ หน้าจอ แสดงสถานะของคลิปวีดีโอ
                             ส่วนที่สี่ คือ Time Line ใช้สำหรับการตัดต่อ แก้ไข ดัดแปลงวีดีโอของเรา โดยเราต้องนำคลิปลงไปใส่ใน Time Line เพื่อทำการแก้ไข
                             ส่วนที่ห้า คือ หน้าจอแสดงระดับเสียงและเครื่องมือที่ใช้ในการตัดต่อวีดีโอ
          ทำความรู้จักกับเครื่องมือการใช้งานของโปรแกรม  Premiere Pro
ชื่อเครื่องมือ
การทำงาน
Selection tool
ใช้ในการเลือกคลิป และการย้ายคลิปต่างๆ ที่วางอยู่ในพาเนล Time Line
Track Select Tool
ใช้ในการเลือกคลิปในลักษณะเดียวกับ Selection Tool แต่จะต่างกันตรงที่ Track Selection Tool จะใช้เลือกทุกคลิปที่เรียงต่อกันในแทร็กเดียวกับรูปก่อนการเลือก ให้เราเลือกคลิปที่ต้องการ
Ripple Edit Tool
ใช้ในการปรับความยาวในการแสดงคลิป โดยการลดหรือเพิ่มเฟรมเหมือนกับ Ripple Edit Tool แต่จะไม่มีผลกับเวลารวมในการแสดงคลิป เนื่องจากเราเพิ่มหรือลดความยาวเฟรมของคลิปหนึ่ง อีกคลิปหนึ่งที่อยู่ติดกันก็จะมีผลต่อการเพิ่มหรือลดเฟรมของคลิปที่อยู่ติดกันนั้นด้วย
Rate Stretch Tool
เป็นเครื่องมือที่ใช้ปรับความเร็วในการแสดงคลิป โดยสามารถเพิ่มหรือลดความเร็วให้แก่คลิปนั้นๆ โดยไม่มีการตัดช่วงเวลาของเฟรมออกไป เพียงแต่เพิ่มหรือลดความเร็วให้คลิปนั้นๆ
Razor Tool
เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการในการตัดต่อวีดีโอ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดและต่อวีดีโอและออดิโอออกเป็นส่วนๆ แต่ถ้าคลิปวีดีโอของเรามีภาพและเสียงประกอบตั้งแต่แรก Razor Tool ก็จะทำการตัดทั้งภาพและเสียงออกไปพร้อมกัน
Slip Tool
เป็นเครื่องมือที่ใช้เลื่อนฉากในคลิป โดยจะเป็นการขยับเฟรมที่ซ่อนไว้ให้
แสดงออกมา โดยการใช้ Slip Tool นั้น จะไม่มีผลต่อความเร็ว และคลิปข้างเคียง
Slide Tool
ใช้ในการปรับความยาวของคลิปรอบข้าง โดยจะมีผลกับคลิปที่อยู่ด้านข้างทั้งซ้ายและขวา แต่จะไม่มีผลกับคลิปของตัวเอง
          การนำคลิปวีดีโอเข้ามาเพื่อการใช้งาน
                   โปรแกรม Adobe Premiere cs6 สามารถรองรับการใช้งานของฟอร์แมตวีดีโอดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
         
          ประเภทของคลิป ประกอบไปด้วย
                   1. คลิปวีดีโอ เป็นคลิปที่มีการเคลื่อนไหวและเสียงรวมกัน
                   2. คลิปเสียง เป็นคลิปที่มีแต่เสียงอย่างเดียว 
                   3. คลิปภาพ หรือเป็นรูปภาพนิ่งที่เราต้องการนำมาใช้ในการตัดต่อเพื่อเพิ่มสีสันให้ชิ้นงานของเรา  การนำคลิปวีดีโอเข้ามาใช้ในโปรแกรม Adobe Premiere cs6 สามารถทำได้โดยการ Import Fileเข้ามา โดยที่เราสามารถนำคลิปวีดีโอ , คลิปเสียง , คลิปรูปภาพก็ได้ ดังรูป
          การแทรกคลิปต่างๆ ลงบน Time line
                   เมื่อเราได้ทำการ Capture VDO เสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือว่า เราได้เตรียมคลิปวีดีโอไว้เรียบร้อยแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการนำคลิปเหล่านั้นมาทำการตัดต่อเรียบเรียงให้ได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการ การนำคลิปมาใช้ตัดต่อนั้นเราจำเป็นต้องทำการตัดต่อบน Time Line  การนำคลิปวีดีโอเข้ามาใช้งานเราสามารถทำได้โดย ไปที่พาเนล Project ให้คลิกเมาส์ที่คลิปค้างไว้ แล้วลากคลิปไปปล่อยยังพาเนลTime Line ดังรูป
          การสร้างไตเติ้ล (Title)
                   ไตเติ้ล (Title) เป็นตัวอักษรที่ใช้ประกอบในภาพยนต์ เพื่อสื่อถึงรายละเอียดของภาพยนต์นั้นๆ เช่น ชื่อเรื่องผู้สร้าง นักแสดง เป็นต้น          ไตเติ้ลเป็นเหมือนคลิปวีดีโอคลิปหนึ่ง ซึ่งเมื่อการสร้างไตเติ้ลขึ้นมาแล้วการใช้งานคล้ายกันกับการใช้งานคลิปวีดีโอ
          สร้างไตเติ้ลตัวอักษรและภาพกราฟิก
                   เราสามารถสร้างไตเติ้ลได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ข้อความยาว หรือแม้กระทั่งภาพกราฟิกทรงเรขาคณิตต่างๆ และภาพกราฟฟิกใดๆ ที่เรากำหนดเอง โดยที่เราสามารถนำรูปแบบการสร้างเหล้านี้ไปใช้ร่วมกับคลิปนั้น
          การสร้างไตเติ้ลในรูปแบบตัวอักษร
                   การสร้างตัวอักษรเป็นเรื่องพื้นฐานของไตเติ้ลที่เราต้องศึกษาให้เป็นก่อน โดยเราสามารถสร้างตัวอักษรในรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้
         
          เข้าสู่การสร้าง ไตเติ้ล
                   ไตเติ้ลในโปรแกรม Premiere Pro นั้นเป็นคลิปหนึ่งๆ ที่นำเข้ามาใช้งานร่วมกับการตัดต่อ สามารถทำได้ดังนี้ 
                             -  ในพาเนล Project ให้เราคลิ๊กที่ปุ่ม
                             -  ทำการตั้งชื่อ ไตเติ้ล ที่เราต้องการ
                             จะปรากฏหน้าต่างสำหรับสร้างไตเติ้ลขึ้นมา
          การ Export เพื่อเผยแพร่ไฟล์วีดีโอ
                   เมื่อเราทำการตัดต่อทั้งหมดในโปรเจ็คเรียบร้อยแล้วนั้น เราจะยังไม่ได้ไฟล์วีดีโอที่สมบูรณ์แบบ คือ ยังไม่สามารถนำออกไปเผยแพร่หรือใช้แสดงด้วยโปรแกรมเล่นภาพยนต์ต่างๆ ได้ ดังนั้นเราจึงต้องทำการ Export งานของเราเสียก่อน เพื่อให้โปรแกรม Premiere Pro แปลงไฟล์โปรเจ็คงานเป็นไฟล์วีดีโอที่สามารถนำไปเผยแพร่ได้จริง  ในโปรแกรม Premiere Pro เราสามารถ Export งานได้หลายรูปแบบและหลายวิธีดังนี้
                   Movie Export โปรเจ็กต์เป็นไฟล์วีดีโอ - Audio Export โปรเจ็กต์เป็นไฟล์เสียง - Frame Exportโปรเจ็กต์เป็นไฟล์ภาพ
                   โดยแต่ละรูปแบบนั้นจะมีลักษณะของไฟล์ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป สาเหตุที่ต้องมีการExport เป็นไฟล์หลายรูปแบบวีดีโอนั้น ก็เนื่องจากจุดประสงค์ของการทำงานของแต่ล่ะคนแตกต่างกันออกไป บางคนอาจต้องการไฟล์งานเป็นไฟล์วีดีโอ บางคนต้องการเพียงภาพบางภาพจากวีดีโอ
          การ Export ไฟล์วีดีโอ
                   โดยปกติแล้วโปรแกรม Premiere Pro จะตั้งค่าไฟล์มาตรฐานของการ Export วีดีโอไว้ให้เป็นMicrosoft DV AVI ไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเราจะสามารถทำการ Export ไฟล์วีดีโอได้เลย

          2.1.4.12 ความสำคัญของโปรแกรม Kate's Video Toolkit Free
                   สำหรับท่านที่หาโปรแกรมในการตัดต่อภาพวิดีโอง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก เราแนะอีกหนึ่งโปรแกรม จะเรียกว่าโปรแกรมครอบจักรวาลก็ว่าได้  เป็นโปรแกรมเล็กพริกขึ้หนูในงานตัดต่อ ในการจัดการกับไฟล์วิดีโอของเรา
โปรแกรมที่เราแนะนำคือ โปรแกรมจัดการวิดีโอ Kate's Video Toolkit Free
                    คุณสมบัติโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ Kate's Video Toolkit Free
                             Convert : แปลงวิดีโอจากรูปแบบอื่น ๆได้
                             Cut : ตัดจากส่วนหนึ่งของวิดีโอและบันทึกไว้ในรูปแบบที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันได้
                             Join : รวมวิดีโอหลายรูปแบบที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันและบันทึกเป็นภาพเดียว
                             Mix : ผสมเสียงหลายเสียงและวิดีโอเป็นไฟล์เดียวกันได้
                             Transitions : ใช้การเปลี่ยนที่แตกต่างกันมากในวิดีโอที่มีอยู่
                             Player : เล่นรูปแบบภาพยนตร์ทั้งหมดได้รับการสนับสนุนโดย Windows Media Player, quick time player, dvd players.
          2.1.4.13 ความสำคัญของโปรแกรม Movie Maker
                   ทำให้ภาพยนตร์ของคุณมีลักษณะตามที่คุณต้องการ ด้วยเครื่องมือแก้ไขใน Movie Makerตัดแต่งวิดีโอของคุณ  คุณสามารถตัดแต่งส่วนต้นและส่วนท้ายของวิดีโอเพื่อให้ภาพยนตร์ของคุณแสดงวิดีโอเฉพาะส่วนที่คุณต้องการ ตัวอย่างเช่น หากคุณมีวิดีโอที่มีเฟรมสีดำอยู่จำนวนหนึ่งในตอนเริ่มต้นวิดีโอ คุณสามารถตัดแต่งจุดเริ่มต้นของวิดีโอเพื่อไม่ให้เฟรมสีดำนั้นปรากฏในวิดีโอที่เสร็จสมบูรณ์ที่คุณบันทึกไว้
เมื่อคุณตัดแต่งไฟล์วิดีโอใน Movie Maker ไฟล์วิดีโอต้นฉบับจะไม่ได้รับผลกระทบ ภาพวิดีโอทั้งหมดจะยังคงอยู่ในไฟล์วิดีโอต้นฉบับ
                             -  บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม เพิ่ม ให้คลิก เพิ่มวิดีโอและรูปถ่าย
                             ในกล่องโต้ตอบ เพิ่มวิดีโอและรูปถ่าย ให้เปิดโฟลเดอร์ที่มีรูปถ่ายหรือวิดีโอที่คุณต้องการเพิ่ม             
                             เลือกไฟล์วิดีโอและรูปถ่าย แล้วคลิก เปิด
                             คลิกวิดีโอที่คุณต้องการตัดแต่ง
                             หากต้องการเลือกรูปถ่ายและวิดีโอหลายรายการ ให้กดแป้น Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกที่รูปถ่ายและวิดีโอแต่ละรายการที่คุณต้องการ
                             ภายใต้ เครื่องมือวิดีโอ บนแท็บ แก้ไข ในกลุ่ม การแก้ไข ให้ทำตามอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
                             หากต้องการตั้งค่าจุดเริ่มต้นใหม่สำหรับวิดีโอ ให้ลากตัวเลื่อนที่ด้านล่างหน้าจอแสดงตัวอย่าง            
                             ไปยังจุดที่คุณต้องการให้วิดีโอเริ่มเล่น แล้วคลิกตั้งจุดเริ่มต้น
                             หากต้องการตั้งค่าจุดสิ้นสุดใหม่สำหรับวิดีโอ ให้ลากตัวเลื่อนที่ด้านล่างหน้าจอแสดงตัวอย่างไปยังจุดที่คุณต้องการให้วิดีโอหยุดเล่น แล้วคลิกตั้งจุดสิ้นสุด
                             คลิกที่วิดีโอที่มีการตัดแต่งในโครงการของคุณ
                             ภายใต้ เครื่องมือวิดีโอ บนแท็บ แก้ไข ในกลุ่ม การแก้ไข ให้คลิก เครื่องมือตัดแต่ง
เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้:
                             -  หากต้องการให้วิดีโอที่มีการตัดแต่งเริ่มเล่นจากจุดเริ่มต้นอีกครั้ง ให้คลิกที่จับการตัดแต่งตรงจุดเริ่มต้นที่ด้านล่างหน้าจอแสดงตัวอย่าง แล้วลากไปยังจุดเริ่มต้นของวิดีโอ
                             หากต้องการให้วิดีโอที่มีการตัดแต่งเล่นไปจนถึงจุดสิ้นสุดอีกครั้ง ให้คลิกที่จับการตัดแต่งตรงจุดสิ้นสุดที่ด้านล่างหน้าจอแสดงตัวอย่าง แล้วลากไปยังจุดสิ้นสุดของวิดีโอ
                             บนแท็บ ตัดแต่ง ในกลุ่ม ตัดแต่ง ให้คลิก บันทึกการตัดแต่ง เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่คุณได้กระทำ และเพื่อปิดเครื่องมือตัดแต่ง
                   หมายเหตุ
                             หากต้องการตัดแต่งวิดีโออย่างรวดเร็วใน Movie Maker ให้เล่นวิดีโอที่คุณต้องการตัดแต่ง แล้วกดแป้น I เพื่อกำหนดให้จุดปัจจุบันเป็นจุดเริ่มต้นวิดีโอ หรือกดแป้น O เพื่อกำหนดให้เป็นจุดสิ้นสุด
                             หากคุณตัดแต่งวิดีโอส่วนที่มีคำอธิบายภาพ คำอธิบายภาพจะถูกตัดแต่งด้วย
แยกวิดีโอ
                             คุณสามารถแยกวิดีโอเป็นรายการขนาดเล็กสองรายการ แล้วดำเนินการแก้ไขต่อ ตัวอย่างเช่น หลังจากที่แยกวิดีโอ คุณจะสามารถย้ายวิดีโอหนึ่งมาไว้ข้างหน้าอีกวิดีโอหนึ่ง เพื่อเปลี่ยนแปลงลำดับการเล่นวิดีโอในภาพยนตร์ของคุณ
                   การแยกวิดีโอเป็นสองรายการ
                             -  คลิกที่ภาพยนตร์ แล้วลากตัวระบุการเล่นไปยังจุดที่คุณต้องการแยกวิดีโอ
ภายใต้ เครื่องมือวิดีโอ บนแท็บ แก้ไข ในกลุ่ม การแก้ไข ให้คลิก แยก
                    เพิ่มหรือลดความเร็วของวิดีโอ
                             คุณสามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วของวิดีโอใน Movie Maker เพื่อทำให้วิดีโอเล่นเร็วขึ้นหรือช้าลง
                             -  คลิกที่วิดีโอ และภายใต้ เครื่องมือวิดีโอ ในแท็บ แก้ไข ในกลุ่ม ปรับเปลี่ยน ให้                  
                             คลิกรายการ ความเร็ว แล้วคลิกความเร็ว (ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการเพิ่มหรือลดความเร็วของวิดีโอ)
                   เลือกชุดรูปแบบ
                             ชุดรูปแบบภาพยนตร์อัตโนมัติใน Movie Maker จะเพิ่มชื่อเรื่อง รายชื่อผู้เกี่ยวข้อง ช่วงการเปลี่ยนภาพ และเอฟเฟกต์ให้กับภาพยนตร์ของคุณโดยอัตโนมัติ ดูตัวอย่างชุดรูปแบบภาพยนตร์อัตโนมัติ โดยชี้ไปยังชุดรูปแบบแต่ละชุดด้วยเคอร์เซอร์ของคุณ หลังจากที่คุณเพิ่มรูปถ่าย วิดีโอ และเพลงที่คุณต้องการใช้ให้กับ MovieMaker แล้ว บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม ชุดรูปแบบภาพยนตร์อัตโนมัติ ให้คลิกชุดรูปแบบที่ใช้การได้ดีที่สุดสำหรับภาพยนตร์ของคุณ คุณสามารถแก้ไขได้ต่อไป หรือเพียงแค่บันทึกภาพยนตร์ของคุณ

2.3  ทฤษฎีการเรียนรู้
          การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ครูมีหน้าที่จัดประสบการณ์ในห้องเรียน เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน นักจิตวิทยาได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งสัตว์และมนุษย์ และได้ค้นพบหลักการที่ใช้ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ ทฤษฎีของการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่แต่ทฤษฎีการเรียนรู้ที่รองรับเรื่องนี้ คือ
          2.3.1.ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism)
                   ทฤษฎี Constructivism มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active) และสร้างความรู้ ความเชื่อพื้นฐานของ Constructivism มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ และวิก็อทสกี้ ทฤษฎี Constructivism จึงแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ
                   1. Cognitive Constructivism หมายถึงทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (active) และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น เป็นเหตุให้ผู้เรียน ปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่ง เกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
                   2. Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของวิก็อทสกี้ ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม (Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น
          ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
                   1.ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
                   2.การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
                   3.การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
                   4.การจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
          ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพุทธิปัญญานิยม
                   ทฤษฎีทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญของ บรุนเนอร์มีดังนี้
          ทฤษฎีการเรียนรู้
                   1.. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
                   2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
                   3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
                   4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
                   5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ แบ่งได้เป็น 3 ขั้น ใหญ่ๆ คือ
                             5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
                             5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพ แทนของจริงได้
                             5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
                   6. การเรียนรู้เกิดได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถสร้างหรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
                   7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)
          การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
                   1. กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
                   2. การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
                   3. การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
                   4. ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มาก เพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
                   5. การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
                   6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
                   7. การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
                   8. การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
          2.3.2   ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
                   ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike, 1874 - 1949) เป็นชาวอเมริกัน ได้ตั้งทฤษฎีการ เรียนรู้ (Learning Theory) ซึ่งกล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์จะเกิดขึ้นด้วยการสร้างสิ่ง เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่เหมาะสมกัน และการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎ 3 ประการ คือ
                   1. กฎแห่งพร้อม   (Law of Readiness)
                             พึงพอใจ                  เรียนรู้                 เกิดการเรียนรู้
                     พร้อม                     ไม่พอใจ                ไม่เกิดการเรียนรู้
                     ไม่พร้อม                  ไม่พอใจ                 ไม่เกิดการเรียนรู้
              2. กฎแห่งผลความพอใจ
ถ้าผลที่ได้รับเป็นที่พึงพอใจ ผู้เรียนย่อมอยากจะเรียนรู้อีกต่อไป แต่ถ้าผลที่ได้รับไม่เป็นที่พอใจ ผู้เรียนก็ไม่อยากเรียนรู้หรือเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนรู้ได้ ดังนั้นถ้าจะให้การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองมั่นคงถาวร ต้องให้ผู้เรียนได้รับผลที่พึงพอใจ ผลความพอใจ (Law of Effect)
          2.3.3.ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่ด้วยผู้เรียน
                   เป็นทฤษฎีการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T (Massachusetts Institute of Technology) เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีของความรู้ (Theory of knowledge) โดย Jean Piaget ชัยอนันต์ สมุทวาณิช. (2541 : 1)กล่าวว่า ทฤษฎี Constructionism ยึดหลักการที่ว่า การเรียนที่ทำให้มีกำลังทางความคิดมากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้าง สิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง สร้างสิ่งที่เด็กชอบและสนใจ ไม่มีใครที่จะบงการหรือกำหนดว่าสิ่งใดคือสิ่งที่มีความหมายของอีกคนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้การมีทางเลือกจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี
           ระบบการเรียนการสอนที่ผ่านมา เกิดขึ้นตามลักษณะของความรู้ในอดีตซึ่งมีลักษณะรวมศูนย์ไว้ที่นักปราชญ์และสำนักทางความคิดต่าง ๆ ต่อมาก็รวมศูนย์อยู่ที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัย ระบบการเรียนการสอนแบบนั้นจึงมีความเชื่อว่าครูเป็นผู้รู้กว่านักเรียน และนักเรียนเป็นคนที่ไร้ความสามารถที่จะรู้ได้เอง หากครูไม่สอนก็ไม่รู้
          ในปัจจุบันครูผู้สอนก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ แต่บทบาทหน้าที่จะต้องปรับเปลี่ยนไปโดยแทนที่จะสั่งสอนเป็นหลัก ก็ควรจะมีบทบาทใหม่ในการเป็นผู้แนะนำและชี้ทาง ขณะเดียวกันครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ร่วมเรียนไปด้วยกันและจะต้องเรียนรู้ตลอดเวลา แนวคิดของ Constructionism จึงมีความสำคัญที่แนวคิดและวิธีการทีนำมาใช้เป็นการช่วยให้เราตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนวิธีการหาความรู้ใหม่ จากการที่ครูและโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน ไปเป็นการให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ การให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ หมายถึง การเปิดโอกาสให้เด็กได้แสวงหาและค้นพบสิ่งที่เขาไม่เคยรู้มาก่อนด้วยตัวเขาเอง เพื่อที่เขาจะได้มีนิสัยความเคยชินที่จะหาความรู้ด้วยตนเองตลอดไป วารินทร์ รัศมีพรหม (2541) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructionism) จะเป็นการเรียนรู้ที่สังคมสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วม และความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยการประนีประนอมระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ภาษาและวัฒนธรรมจะเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้เรียนที่ใช้เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ ผู้เรียนจะสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองมากกว่าที่จะซึมซาบความคิดความจริงที่เข้ามาสู่ตนเอง โดยมีมุ่งหมายของการเรียนที่ชัดเจน แต่แนวทางที่จะนำไปสู่ปลายทางนั้น จะเป็นอิสระ หรือเป็นระบบเปิด (Open System) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีสิทธิที่จะเลือกแนวทางของตนได้
           การสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง
                   1. ผู้เรียนจะมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคล เหตุการณ์ และสิ่งอื่น ๆ และผู้เรียนจะปรับตนเองโดยวิธีดูดซึม สร้างโครงสร้างทางปัญญาใหม่ และกระบวนการของความสมดุล เพื่อให้รับสิ่งแวดล้อม หรือความจริงใหม่เข้าสู่ความคิดของตนเองได้
                   2. ในการนำเสนอหรืออธิบายความจริงที่ผู้เรียนสร้างขึ้นนั้น ผู้เรียนจะสร้างรูปแบบ หรือตัวแทนของสิ่งของ ปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ขึ้นในสมองของผู้เรียนเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
                   3. ผู้เรียนอาจมีผู้ให้คำปรึกษา (Mentor) เช่น ครูผู้สอนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ได้สร้างความหมายต่อความจริง หรือความรู้ที่ผู้เรียนได้รับเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ความหมายเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
                   4. ผู้เรียนจะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Regulated Learning)
          กล่าวถึงรูปแบบการเรียนแบบ Constructionism ว่าการเรียนลักษณะนี้เน้นกระบวนการเรียน โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีความคิดอิสระ แต่ละคนอาจมีวิธีคิด วิธีเรียนที่แตกต่างกัน ความรู้ทีได้ก็เป็นความรู้ของแต่ละบุคคล และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้เมื่อมีการเปลี่ยนข้อมูลมากกว่าที่จะมีความรู้แต่เพียงอย่างเดียวในการเรียนระบบเดิม นอกจากนี้แล้วจะต้องเป็นการสอนเพื่อที่จะหาวิธีการเรียนรู้ (Learn how to learn) แอนเดอร์สัน และคณะ. (1997) ได้กล่าวถึง ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดย ผู้เรียนเอง (Constructionism) ว่า ลักษณะของการเรียนการสอนแบบนี้จะเน้นไปที่ผู้เรียนมากกว่าที่จะเน้นไปที่หลักสูตรการเรียน ซึ่งมีเป้าหมายและหลักการที่ว่า องค์ความรู้ไม่สามารถสอนได้โดยครู แต่จะสามารถสร้างขึ้นได้โดยผู้เรียนเองและสำหรับการเรียนการสอนโดยวิธีการนี้ จะมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในห้องเรียนเพื่อช่วยพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นด้วย
          การเรียนรู้ที่แท้จริงนั้นไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นในห้องเรียนเหมือนอย่างที่เป็นมาในอดีต และในปัจจุบันโลกในอนาคตมีข้อมูลข่าวสารและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายโดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยสนับสนุน บิลล์ เกตส์ เจ้าของและผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไมโครซอฟต์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลกก็ได้ให้ความเห็นไว้ว่า คอมพิวเตอร์จะช่วยให้เราได้ติดต่อกับใครที่ไหน ก็ได้ทั่วโลกโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายให้ผู้คนติดต่อกันได้สะดวก การเรียนในโลกยุคใหม่จะเปลี่ยนแปลงไป ในอนาคตไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างห้องเรียนขนาดใหญ่มากมาย ครูจะต้องจัดสื่อและสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นการเรียนรู้ นักเรียนสามารถติดต่อกับครูได้ผ่านทางระบบเครือข่าย ซึ่ง ไม่จำเป็นจะต้องพบกันทั้งวันแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
      2.3.4 ทฤษฎีการสื่อสาร
                   การสื่อสารคืออะไร
                             การสื่อสาร (communication )   ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Communication ซึ่งรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Communis หมายถึง การร่วม (Common) เมื่อมีการสื่อสารหรือการสื่อความหมาย ก็หมายถึงว่า มีการกระทำร่วมกันในบางสิ่งบางอย่าง นั่นคือการถ่ายทอดหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ ความคิด ของคนเรานั่นเอง กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดข้อมูลข่าวสาร  ทัศนะ  ความรู้สึกและ อารมณ์ของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปหรือมากกว่านั้น   การสื่อสารจึงเป็นปฏิกิริยาสัมพันธ์ทางสังคมที่สื่อความหมายผ่านระบบสัญลักษณ์ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน การสื่อสาร มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า การสื่อความหมาย ใน (Webster Dictionary 1978 : 98)
                             การให้ความหมายของการสื่อสารตามรูปคำข้างต้น ยังไม่ใช่ความหมายที่สมบูรณ์นัก เพราะการสื่อสารที่แท้จริงนั้น มีความหมายกว้าง ครอบคลุมเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมมนุษย์ในทุกๆ เรื่อง นักวิชาการด้านการสื่อสารได้ให้ความหมายไว้ต่างๆ กัน ตามแง่มุมที่แต่ละคนพิจารณาให้ความสำคัญ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ปรมะ สตะเวทิน 2529 : 5-7)
วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilber Schramm) ให้ความหมายว่า การสื่อสาร คือการมีความเข้าใจร่วมกัน ต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร
                             ชาร์ล อี ออสกุด (Charl E.Osgood) ให้ความหมายโดยทั่วไปว่า การสื่อสาร เกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่งคือผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมต่อสองฝ่าย
วอร์เรน ดับเบิลยู วีเวอร์ (Worren W. Weaver) กล่าวว่า การสื่อสารมีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่าง ที่จิตใจของคนๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจของอีกคนหนึ่งไม่ใช่เพียงการพูดและการเขียนเท่านั้น แต่รวมถึง ดนตรี ภาพ การแสดง และพฤติกรรมอื่นๆ ของมนุษย์
                             ยอร์จ เอ มิลเลอร์ (Goorge A. miller) ให้ความหมายว่า การสื่อสารเป็นการถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
                             เจอร์เกน รอย และเกกอรี เบทสัน (Jurgen Ruesch and Gregory Bateson)ให้ความหมายโดยสรุปว่า การสื่อสารไม่ใช่การถ่ายทอดข่าวสารด้วยภาษาพูดและเขียนโดยมีเจตนาชัดเจนเท่านั้น แต่หมายถึงพฤติกรรมทุกอย่างที่บุคคลหนึ่งกระทำ แล้วส่งผลให้บุคคลอื่นเกิดความเข้าใจ
                             พจนานุกรมภาษาอังกฤษ (Oxford English Dictionary) ให้ความหมายว่า การให้ การนำการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้อื่นๆ   จากความหมายที่มีผู้ให้ไว้แตกต่างกัน ซึ่งบางคนให้ความหมายครอบคลุมไปถึงพฤติกรรมที่ไม่ใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนด้วย บางคนถือว่าการสื่อสารคือการแสดงออกทุกอย่าง ที่ผู้อื่นเข้าใจได้ ไม่ว่าการแสดงนั้นจะมีเจตนาให้ผู้อื่นเข้าใจหรือไม่ก็ตาม จึงอาจสรุปได้ว่า การสื่อสาร คือการที่มนุษย์ถ่ายทอดความรู้ ความคิด หรือประสบการณ์ของตน ไปยังบุคคลอื่น และการรับความรู้ความคิดจากบุคคลอื่น มาปรับพฤติกรรมของตนเอง โดยกระบวนการของการสื่อสาร ซึ่งการถ่ายทอด และการรับความรู้ ความคิดมีอยู่ 3 ลักษณะ
                             1. การใช้รหัสสัญญาณโดยตรง เช่น การใช้สัญญาณเสียง ภาษาพูด สัญลักษณ์ ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ตลอดจนรหัสสัญญาณอื่นๆ ที่กระทำโดยตรง ระหว่างผู้ถ่ายทอดกับผู้รับ
                                      2. การใช้เครื่องมือในการถ่ายทอด เป็นการสื่อสารโดยผ่านทางเครื่องมือ เช่น การใช้ โสตทัศนูปกรณ์ วิทยุกระจายเสียง คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ
                                      3. การถ่ายทอดโดยกระบวนการทางสังคม เช่น การปฏิบัติสืบทอดทางประเพณี ศาสนา วัฒนธรรม และระบบอื่นๆ ของสังคมโดยมีองค์ประกอบดังนี้
                  
                   ความสำคัญของการสื่อสาร
                             ความสำคัญของการสื่อสาร  การสื่อสาร เป็นกระบวนการเกิดขึ้นเป็นปกติวิสัยของคนทุกคน และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่น ตลอดจนถึงสังคมที่แต่ละคนเกี่ยวข้องอยู่ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ล้วนต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ทั้งสิ้น จะเห็นได้จากการที่คนพยายามคิดค้นและพัฒนาวิธีการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน ตลอดจนเครื่องมือหรือเทคนิควิธีการต่างๆ ล้วนเกิดจากความพยายามอย่างสูงของคน ต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุ หากการสื่อสารไม่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งแล้ว เครื่องมือและวิธีการสำหรับการสื่อสารต่างๆ เหล่านี้ก็คงไม่เกิดขึ้นและพัฒนามาให้เห็นดังเช่นในปัจจุบัน
                             ในสภาพสังคมที่คนจะต้องเกี่ยวข้องกันมากขึ้นเช่นปัจจุบัน การสื่อสารก็ยิ่งมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมมากขึ้น หากคนในสังคมขาดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสาร ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ความคิด หรือทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันได้ ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย ปัญหา ที่เกิดขึ้นกับบุคคลและสังคมทุกวันนี้ มีอยู่ไม่น้อยที่เป็นสาเหตุมาจากความล้มเหลวของการสื่อสาร ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญสำหรับบุคคลและสังคมหลายด้าน คือ
                                      1. ด้านชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวันหนึ่งๆ แต่ละคนจะต้องสื่อสารกับตัวเองและสื่อสารกับผู้อื่นตลอดเวลา นับตั้งแต่เวลาตื่นนอนก็ต้องสื่อสารกับตัวเองและคนอื่นที่อยู่ใกล้ตัว การฟังวิทยุ อ่านหนังสือ ออกจากบ้านไปปฏิบัติภารกิจประจำวัน ก็ต้องพบปะบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ต้องทำการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา ไม่ในฐานะผู้ส่งสารก็ในฐานะผู้รับสาร หากคนเราขาดความรู้หรือทักษะการสื่อสาร ก็อาจทำให้การปฏิบัติภารกิจประจำวันอาจบกพร่องได้
                                       2. ด้านสังคม การรวมกลุ่มในสังคมทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ จะต้องมีการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในเรื่องต่างๆ มีกระบวนการทำให้คนยอมอยู่ในกฎเกณฑ์กติกาของสังคม มีการถ่ายทอดความรู้และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
                                      3. ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้า การประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร การบริหารติดต่อประสานงาน การฝึกอบรมพนักงาน การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสาร ฯลฯ กิจการด้านธุรกิจอุตสาหกรรมจะต้องมีการสื่อสารที่ดี จึงจะประสบผลสำเร็จได้
                                                4. ด้านการเมืองการปกครอง กิจกรรมด้านการเมืองการปกครองจะต้องใช้การสื่อสารทุกขั้นตอน เช่น การประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล การสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องต่างๆ การบังคับบัญชาสั่งการ การให้บริการประชาชน การชักชวนให้ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายซึ่งล้วนจะต้องใช้เทคนิควิธีการของการสื่อสารทั้งสิ้น   ด้านการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งต้องมีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ เช่น การค้า การทหาร การทำสนธิสัญญา ฯลฯ การมีนักการฑูตประจำในประเทศต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ มีความจำเป็นต้องใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันอยู่เสมอ หากผู้เกี่ยวข้องมีความรู้และทักษะในการสื่อสารเพียงพอ ย่อมสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้
                   จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน           
                             จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้น ตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครู คือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์ มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคล คือ
                                      1. จับยึดประสบการณ์ เหตุการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถใช้สื่อต่างๆ บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพ บันทึกเสียง การพิมพ์ ฯลฯ
                                       2. ดัดแปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้ จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น
                                      3. ขยายจ่ายแจก ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆ เข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน
                   พัฒนาการของการสื่อสาร
                             การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลก นับตั้งแต่มนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมขนาดใหญ่นั้น อาจแบ่งออกเป็น 3 ยุค ที่สำคัญตามลำดับ คือ เริ่มแรกเป็นยุคของเกษตรกรรม ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นยุคอุตสาหกรรม และถึงปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคของการสื่อสาร
เหตุที่ยุคปัจจุบันได้รับการเรียกขานว่าเป็นยุคของการสื่อสาร เพราะเป็นยุคที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก และอัตราความเจริญเป็นไปอย่างรวดเร็ว หลายอย่างแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในศตวรรษนี้ ความเจริญก้าวหน้าของการสื่อสารดังกล่าว ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้นั้น ย่อมจะมีพัฒนาการมายาวนาน พร้อมกับการเกิดขึ้นของสังคมมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ
                   สื่อและเทคนิคการสื่อสาร
                              การสื่อสาร เป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยทั้งบุคคล วัสดุเครื่องมือ และเทคนิควิธีการในการสื่อสาร ดังนั้นความสำเร็จในการสื่อสารส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับ การเลือก และการใช้สื่ออย่างเหมาะสม  สื่อ (Media) โดยทั่วไปหมายถึงสิ่งที่นำหรือถ่ายทอดสาร จากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น เสียงพูด กิริยาท่าทาง สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ผู้รับจะรับสารได้โดยประสาทในการรู้สึก อันได้แก่ การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น การได้รับรู้รส สื่อ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสื่อสาร สื่อแต่ละอย่างมีคุณสมบัติที่จะก่อให้เกิดการรับรู้ แตกต่างกัน เช่น สิ่งพิมพ์ ทำให้ได้รับสารโดยการเห็น วิทยุ ทำให้รับสารได้ด้วยการได้ยิน โทรทัศน์ ให้รับสารได้ทั้งการเห็นและการได้ยิน ผู้ส่งสารจึงต้องพิจารณาเลือกว่าจะใช้สื่อประเภทใด จึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด แม้จะเป็นสื่อประเภทเดียวกัน ก็ยังอาจต้องพิจารณาในรายละเอียดลงไปอีก เช่น เมื่อเลือกสื่อสารผ่านทางหนังสือพิมพ์ ก็ต้องพิจารณาว่าจะใช้หนังสือพิมพ์ฉบับใด หรือถ้าเป็นโทรทัศน์ จะใช้ช่องใด เป็นต้น ( ปรมะ สตะเวทิน 2526 : 60 )    สื่อ สำหรับการสื่อสารในปัจจุบัน มีมากมายหลายชนิด และมีการพัฒนารูปแบบอยู่เสมอ ผู้สื่อสารจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือเหล่านั้นเป็นอย่างดี เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เครื่องฉาย เครื่องเสียง และนอกเหนือจากนี้จะต้องเข้าใจถึงข้อดี ข้อจำกัดของเครื่องมือสื่อสารแต่ละอย่างด้วย
      
                   เทคนิควิธี    ในการสื่อสาร มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการรู้จักใช้สื่อ ทั้งนี้เพราะการสื่อสารในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ย่อมจะต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่เหมาะสมแตกต่างกันไปด้วย ผู้สื่อสารต้องมีเทคนิควิธีในการสื่อสารที่ดี รู้ว่าเมื่อใดควรใช้เทคนิควิธีการใด เมื่อใดควรใช้เครื่องมือช่วย เมื่อใดจะต้องทราบปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้รับ และจะทราบได้อย่างไร เป็นต้น ตัวอย่างของการใช้เทคนิควิธีในการสื่อสาร เช่น
                   - นำเสนอซ้ำหลายๆ ครั้ง
                   - แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนสั้นๆ นำเสนอทีละน้อย
                   - กระตุ้นให้ผู้รับ ใช้ความคิด พิจารณาเหตุผล และหาข้อสรุปด้วยตนเอง
                   - กระตุ้นให้เกิดความสนใจ ก่อนที่จะนำเสนอเรื่องราวที่เป็นสาระสำคัญ
                   - แสดงเหตุผลหรือข้อเท็จจริงประกอบหลายๆ ด้าน แล้วจึงลงสรุป เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
                    - ให้ผู้รับมีส่วนร่วม หรือแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง  ฯลฯ
                   กระบวนการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการสื่อสาร มี 5 ประการ ดังนี้
                                      1.  ผู้ส่งสารหรือผู้พูด
                                      2.  ข่าวสารหรือเรื่องราวที่พูด
                                      3.  ช่องทาง
                                      4.  ผู้รับสารหรือผู้ฟัง
                                      5.  ปฏิกิริยาตอบสนอง

          2.3.5 ทฤษฎีและแบบจำลองการสื่อสาร
                   การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การคิด การรับรู้ การเรียนรู้ของบุคคล และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่นและสังคมด้วย เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมีลักษณะเป็นนามธรรม ยากที่จะอธิบายให้ชัดเจนได้ว่า การสื่อสารมีสภาพที่แท้จริงเป็นอย่างไร หรือมีปรากฏการณ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสาร นักวิชาการการสื่อสารได้พยายามศึกษา ตั้งสมมุติฐาน คิดค้นหาคำอธิบาย และสร้างแผนผังหรือแบบจำลองขึ้นมาเพื่ออธิบายลักษณะหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งแบบจำลองหรือแผนผังเพื่ออธิบายการสื่อสารดังกล่าว ในปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถนำมาสรุปเป็นทฤษฏีการสื่อสารที่สำคัญได้หลายทฤษฏี ที่สำคัญ คือ (ธนวดี บุญลือ 2539 : 474-529 )
การแบ่งทฤษฎีการสื่อสารสามารถแบ่งออกเป็น 4 แนวทาง คือ
                    1.  ทฤษฎีสื่อสารเชิงระบบพฤติกรรม
                    2.  ทฤษฎีสื่อสารเชิงพฤติกรรมการถอดและเข้ารหัส
                    3.  ทฤษฎีสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
                    4.  ทฤษฎีสื่อสารปริบททางสังคม
                   2.3.5.1 ทฤษฎีเชิงระบบพฤติกรรม
                     ให้ความสำคัญกับเรื่องของสื่อหรือช่องทางการสื่อสารสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้คือ
                             2.1 มุ่งอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ในการส่งข่าวสาร จากผู้ส่ง ผ่านสื่อหรือช่องทาง ไปยังผู้รับ
                             2.2 เปรียบเทียบการสื่อสารของมนุษย์ได้กับการทำงานของเครื่องจักร
                             2.3 การสื่อสารเป็นกระบวนการต่อเนื่อง หรืออาจเป็นวงกลมและเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นเสมอ
                             2.4 ความหมายหรือเจตนาการสื่อสาร ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาระหว่างผู้สื่อสารและสถานการณ์แวดล้อม
                   2.3.5.2   ทฤษฎีพฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส
                              ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า สิ่งสำคัญในการสื่อสาร คือ กระบวนการสร้างรหัสและถอดรหัสของผู้สื่อสาร ทั้งผู้รับและผู้ส่งสาร กิจกรรมที่สำคัญของการสื่อสารได้แก่ การแปลเนื้อหาข่าวสารให้เป็นรหัสสัญญาณ (Encoding) การแปลรหัสสัญญาณกลับเป็นเนื้อหา (Decoding) และการแปลความหมายของข่าวสาร (Interpreting) สรุปสาระสำคัญของทฤษฏี ดังนี้ คือ
                                       1.1 การสื่อสาร เป็นปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากความต้องการตรวจสอบและควบคุมสิ่งแวดล้อม
                                       1.2 กระบวนการสื่อสาร ต้องมีการเข้ารหัส ถอดรหัส และแปลความหมายอยู่ตลอดเวลา
                                      1.3 การรับรู้ ความรู้สึก ความสนใจ และการจำแนกประเภทข่าวสาร ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเชิงสรีร เช่น ระบบกล้ามเนื้อ เกี่ยวกับการฟัง การเขียน รวมถึงกระบวนการทางอารมณ์
                                      1.4 เน้นการศึกษาถึงความสำพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
                                      1.5 ระบบสมอง การคิด เป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์ตัดสินว่าสิ่งใดที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง เป็นตัวกระตุ้นให้สนใจที่จะรับสาร
                   2.3.5.3. ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์
          สรุปสาระสำคัญดังนี้ คือ
                              3.1 ให้ความสำคัญกับกระบวนการเชื่อมโยง ระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร ซึ่งปกติจะมีความสัมพันธ์ด้วยอำนาจภายนอกและมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่าง
                             3.2 การสื่อสารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน บุคคลิกภาพ ความน่าเชื่อของผู้ส่งข่าวสารเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาของผู้รับสาร
                             3.3 พฤติกรรมทั้งหลายของคนเป็นผลมาจากพฤติกรรมทางการสื่อสาร
                             3.4 พฤติกรรมต่างๆ ของคนมีอิทธิพลต่อกระบวนการ
                   2.3.5.4. ทฤษฎีเชิงบริบททางสังคม
          มีสาระสำคัญดังนี้ คือ
                             4.1 เน้นอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสาร
                             4.2 การสื่อสารเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม
                             4.3 กลุ่มสังคม องค์กร มีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อ การตัดสินใจ
                             4.4 สังคมเป็นตัวควบคลุมการไหลของกระแสข่าวสาร เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลง
          ทฤษฎีการสื่อสารทั้ง 4 ทฤษฎีข้างตนเป็นเพียงการนำความคิดของนักวิชาการการสื่อสารมาจัดเป็นกลุ่มความคิดตามความคิดที่เหมือนกันบางประการเท่านั้น ความจริงนักวิชาการแต่ละคน แม้ที่ถูกจัดในกลุ่มทฤษฏีเดียวกันก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ซึ่งแนวความคิดของนักวิชาการสื่อสารต่างๆ สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองการสื่อสารของนักวิชาการสื่อสารแต่ละคน













                                                           






1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากๆ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจค่ะ

    ตอบลบ