วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอเพื่อการเรียนการสอน บทที่ 1

บทที่ 1
บทนำ
  หลักการและเหตุผล
  ในปัจจุบันมีการนำวิดีโอ (Video) มาใช้ดำเนินธุรกิจในรูปแบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และเพิ่มความน่าสนใจให้กับลูกค้า วิดีโอเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่สำคัญสำหรับงานด้านมัลติมีเดีย จึงต้องให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนการผลิต เช่น วิธีการบันทึกข้อมูล เทคนิคการบีบอัดข้อมูล และเทคนิคการแสดงผล เป็นต้น โดยจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและมีขนาดของหน่วยความจำที่เหมาะสมเพื่อจัดการกับไฟล์วิดีโอรายละเอียดภายในบทนี้จะกล่าวถึงความรู้ทั่วไป องค์ประกอบ และลักษณะการทำงานของวิดีโอ  วิดีโอ (Video) ได้กลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของมัลติมีเดีย เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลทางธุรกิจ หรือใช้เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer-Based Learning) ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้วิดีโอยังถือเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับองค์ประกอบต่างๆ ภายในมัลติมีเดียและเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการชักนำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าภาพที่ได้มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยวิดีโอสามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับเรื่องราวที่นำเสนอ และเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้ชมได้ แต่ในทางตรงข้ามวิดีโอที่ไม่มีคุณภาพจะมีส่วนทำให้คุณภาพของมัลติมีเดียลดลงไปด้วย
วิดีโอจัดเป็นสื่อที่นิยมนำมาใช้กับงานด้านมัลติมีเดีย เนื่องจากสามารถแสดงผลได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงไปพร้อมๆกัน โดยการแสดงภาพเคลื่อนไหวของวิดีโอ (Motion Video) เป็นการนำภาพ (Image) และเสียง (Audio) มาผสมผสานกันซึ่งประกอบด้วยเซตของภาพนิ่ง (Still Image) มาเรียงต่อกันในลักษณะเฟรม (Frame) แล้วแสดงผลอย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วที่กำหนด  การแสดงภาพเคลื่อนไหวของวิดีโอจะแตกต่างจากการแสดงภาพเคลื่อนไหวทั่วไป (Motion Picture) ที่ใช้วิธีบันทึกบนแผ่นฟิล์มที่ทำจากเซลลูลอยด์ และแสดงผลด้วยการฉายภาพต่อเนื่องบนจอภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับการแสดงภาพเคลื่อนไหวของวิดีโอที่จะแสดงผลในรูปแบบสัญญาณไฟฟ้าจากกล้องวิดีโอ ซึ่งสามารถจัดเก็บลงบนสื่อแม่เหล็กต่างๆได้ เช่น Video Cassette เป็นต้น นอกจากนี้ยังแสดงผลโดยใช้ VCP (Video Cassette Player) หรือแสดงผลผ่านโทรทัศน์ได้โดยตรงอย่างไรก็ตามการแสดงภาพเคลื่อนไหวของวิดีโอก็ยังแนวคิดเช่นเดียวกับแอนิเมชั่น (Animation) แต่ต่างกันที่วิดีโอจะใช้กล้องเพื่อบันทึกภาพจริงที่มีการเคลื่อนไหว แต่แอนิเมชั่นจะเป็นภาพที่เกิดจากการวาดด้วยดินสอบนกระดาษหรือซอฟต์แวร์
          ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาโปรแกรมตัดต่อ VDO ด้วยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้และสามารถให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในการตัดต่อ VDO เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะในการตัดต่อ VDO และยังส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์อีกด้วย




วัตถุประสงค์
          1. เพื่อศึกษาการทำงานของโปรแกรมการตัดต่อวีดิโอ
          2. เพื่อเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมการตัดต่อวีดิโอ
          3. เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกนำไปบูรณาการใช้ในอนาคต

แผนการดำเนินงาน
1.       ขั้นวางแผน
- เขียนโครงการ
- เขียนแบบประเมินความพึงพอใจ
2.       ขั้นตอนการดำเนินงาน
-          รับมอบหมายงานจากอาจารย์
-          วางแผนในการทำงาน
-          ลงมือปฏิบัติสืบค้นข้อมูล
-          นำข้อมูลมารวบรวมและตรวจสอบความถูกต้อง
-          นำโครงการเสนออาจารย์เพื่ออนุมัติจัดทำ
3.       แผนปฏิบัติการ

ลำดับ

รายการ
ระยะเวลา
จำนวน
ชั่วโมง

หมายเหตุ
.
.
มี.
1.
รับมอบหมายงานจากอาจารย์


1

2
วางแผนในการทำโครงงาน


1

3
ลงมือเขียนโครงการและรูปแบบกิจกรรม


1
เพื่อขออนุมัติ
4
นำโครงการเสนออาจารย์เพื่ออนุมัติ
ในครั้งที่ 1


30 นาที

5
ปรับปรุงแก้ไขตัวโครงการ ครั่งที่ 1


1

6
นำโครงการเสนออาจารย์เพื่ออนุมัติ
ในครั้งที่ 2


30 นาที

7
ปรับปรุงแก้ไขตัวโครงการ ครั่งที่ 2


1

   8
ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล


    1

   9
ลงมือทำโครงการ


    1

  10
สอนตามรูปแบบที่วางไว้ ครั้งที่ 1


    1

  11
กิจกรรมสะท้อนตนเอง


    1

  12
สรุปตัวโครงการ


    1

  13
ส่งรูปเล่มโครงการ


    1


ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลา
1.ขอความเห็นชอบโครงการ
16 มีนาคม 2558
2.ดำเนินการตามความมุ่งหมายของโครงการ
2.1  ศึกษาโปรแกรมการตัดต่อวีดิโอชนิดต่างๆ แล้วมาเปรียบเทียบคุณสมบัติของแต่ละโปรแกรม
22 มีนาคม 2558 – 15 เมษายน 2558
     2.2  ศึกษาหลักการและทฤษฎีที่รองรับการโปรแกรมการตัดต่อวีดิโอ ทฤษฎีการเรียนรู้  ทฤษฎีการสื่อสาร  และทฤษฎีระบบ
16 เมษายน 2558 – 18 เมษายน 2558
     2.3  ศึกษาคุณภาพของโปรแกรมการตัดต่อวีดิโอของแต่ละโปรแกรมจากผู้เชี่ยวชาญ
19 เมษายน 2558 – 25 เมษายน 2558
     2.4  สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมการตัดต่อวีดิโอในระดับอุดมศึกษา
26 เมษายน 2558 – 5 พฤษภาคม 2558
3. สรุปข้อมูล / ทำรูปเล่ม
6 พฤษภาคม 2558 -9 พฤษภาคม 2558
4 นำเสนอ
10 พฤษภาคม 2558

งบประมาณ
                       รายการ
                     งบประมาณ (บาท)
1. ปริ้นงาน
                              300
2. อุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรม
                              100
3. อื่น ๆ
                              50
                                     รวม
                            450

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          1. นิสิตมีความรู้ความเข้าใจการทำงานของโปรแกรมการตัดต่อวีดิโอ
          2. นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมการตัดต่อวีดิโอมากขึ้น
          3. นิสิตสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกนำไปบูรณาการใช้ในอนาคต


การประเมินผลโครงการ
          1. ประเมินจากแบบสอบถาม
           2. ประเมินจากภาพถ่าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น